ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
กูรูมองศก.ไตรมาสแรกห่วงปัญหา'ภัยแล้ง'ฉุด


 


วันนี้ (18มี.ค.)ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)จัดสัมมนา"มุมมองเศรษฐกิจโลกไตรมาสแรก กระแสความเคลื่อนไหวของค่าเงิน และหุ้นเด่น"เพื่อเป็นข้อมูลให้ลูกค้าที่ประกอบธุรกิจได้ทราบถึงทิศทางค่าเงิน อัตราดอกเบี้ย รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องบอลรูม 1 ชั้น 4 โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ 
 
 

กิจกรรมในวันนี้มีการ บรรยายหัวข้อ “ทิศทางค่าเงินและอัตราดอกเบี้ยปี 2559 " โดยคุณกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทยคุณณัฏฐริยา วิทยธนเศรษฐ์ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย และเวทีเสวนา"มุมมองเศรษฐกิจโลกไตรมาสแรก กระแสความเคลื่อนไหวของค่าเงินและหุ้นเด่น”โดยดร. กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ TDRI คุณกวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) คุณกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย และคุณกิตติ เจริญกิจชัยชนะผู้บริหารกลุ่มงานขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ธนาคารกสิกรไทย

 นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารได้ปรับคาดการณ์ค่าเงินบาทในปีนี้เป็น 37 บาทต่อดอลลาร์ จากเดิมคาดการณ์ไว้ระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์ โดยคาดว่าระยะสั้นช่วงไตรมาส 2/59 ค่าเงินบาทจะแข็งค่า หรือแตะระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์ ผลจากเงินทุนไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม คาดว่าบาทจะกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งในช่วงเดือนมิ.ย.นี้  ก่อนการประชุมนโยบายการเงินของสหรัฐฯ เพราะคาดว่าเฟดจะประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

คุณณัฏฐริยา วิทยธนเศรษฐ์ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย มองเศรษฐกิจไทย ดัชนีหลายตัวไม่ดีเท่าไรโดยเฉพาะเรื่องการส่งออก จำนวนนักท่องเที่ยว การจำหน่ายรถยนต์และภาคการผลิตชะลอตัวลงหมดแต่ที่เห็นตัวเลขก่อนหน้านี้ดีเพราะผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ

ไตรมาสแรกปีนี้จะเห็นเศรษฐกิจไทยชะลอตัวและไตรมาสสองปีนี้น่าเป็นห่วงเพราะมีปัญหาเรื่องภัยแล้งที่เข้ามากระทบมากขึ้นด้วยทั้งนี้ด้านการส่งออกนอกจากราคาลดลงแล้วปริมาณความต้องการของตลาดก็ลดลงด้วยโดยการส่งออกกำลังเผชิญปัญหาด้านโครงสร้างถ้าไม่เร่งแก้ไขจะทำให้ประเทศไทยเสียส่วนแบ่งการตลาดในตลาดโลกได้

"ปีนี้จะเป็นปีที่4ที่การส่งออกหดตัวต่อเนื่องซึ่งเป็นความท้าทายของเศรษฐกิจไทยนอกเหนือจากความท้าทายเรื่องเศรษฐกิจจีน ภัยแล้งและราคาน้ำมันที่น่าจะกดดันการส่งออกโดยโอเปคจะมีการประชุมกันเดือนเมษายนเรื่องจะคงการผลิตน้ำมันหรือไม่"

อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังมีแรงขับเคลื่อนจากภาครัฐที่เป็นตัวหลักโดยเฉพาะเรื่องการลงทุนภาครัฐที่จะหนุนให้การลงทุนภาคเอกชนตามมา โดยปี2558มีบริษัทเอกชนขอบีโอไอน้อยมาก ขณะที่รัฐบาลพยายามเร่งการอนุญารตโดยปริมาณเม็ดเงินที่รัฐบาลอนุญาตไปลงทุนไม่เปลี่ยนแปลงประมาณ5แสนล้านบาท
 
 
การท่องเที่ยวน่าจะเป็นอีกตัวหลักที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้โดยที่ภาคท่องเที่ยวยังเป็นดาวรุ่งหนุนเศรษฐกิจไทยจาการที่นักท่องเที่ยวจีนเข้ามามากที่สุดเป็นสัดส่วนประมาณ25%และคาดว่าปีนี้น่าจะเข้ามา22%เมื่อเทียบกับปีก่อน

 

นายกวี ชูกิจเกษม รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด(มหาชน)กล่าวว่า ตอนนี้นักลงทุนต่างชาติเลือกซื้อหุ้นไทยส่วนใหญ่ไปเล่นในฟิวเจอร์และSET50เพราะเป็นตลาดที่มีสภาพคล่อง มีมาร์จิ้นแต่ใช้เงินน้อยและคนไทยก็ชอบเข้าไปเล่นสองตลาดนี้เหมือนกัน ซึ่ง1-2เดือนที่ผ่านมามีปริมาณซื้อถึง1.2แสนสัญญาและโดยเฉลี่ยตกสัญญาละเกือบล้านบาท

สำหรับมุมมองเรื่องการจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ นายกวีกล่าวว่าประเทศไทยไม่น่าจะเป็นเป้าหมายวิกฤติเศรษฐกิจและประเทศไทยน่าจะอยู่รอดได้เพราะไทยมีหนี้ภาครัฐและหนี้ภาคเอกชนน้อยแม้จะมีหนี้ครัวเรือนมากก็ตาม

"วิกฤตเศรษฐกิจส่วนใหญ่เกิดจากหนี้ภาครัฐและหนี้ภาคเอกชนที่มีมากขณะที่หนี้ภาคครัวเรือนไม่ค่อยเป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเพียงแต่ตัวเลขมันไม่สวย"นายกวีกล่าว

ด้านดร.กิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัยด้านการวิจัยและคำปรึกษาระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)กล่าวถึงการอุปโภคบริโภคภาคครัวเรือนจะเป็นอย่างไรต่อไปว่าต้องดูเรื่องภัยแล้งเป็นหลักเพราะจะกระทบเรื่องการอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะเกษตรกรที่ทำนาปรังที่มีสัดส่วน15%ของการผลิตข้าวในแต่ละปีจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอนจากภัยแล้งเพราะตอนนี้น้ำขาดแคลนและรัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอับดับ3ในการจ่ายน้ำให้

นอกจากนี้ข้าวนาปีที่มีสัดส่วนถึง85%ของการผลิตข้าวทั้งหมดของประเทศถ้าน้ำยังขาดอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมจะสร้างผลกระทบอย่างมากต่อเกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปีโดยจะกระทบต่อครัวเรือนถึง3.5ล้านครัวเรือนโดย1ครัวเรือนเฉลี่ย4คน

อย่างไรก็ตามมีข่าวดีที่น้ำน่าจะมาในช่วงเดือนมิถุนายนฉะนั้นผลกระทบไม่ได้รุนแรงเท่าที่คิด เพราะน้ำแม้จะมาช้าไป1เดือนที่เกษตรกรที่จะต้องปลูกข้าวนาปีทำให้บางส่วนอาจปลูกข้าวนาปีไม่ได้แต่ข้าวนาปรังเสียหายไปแล้ว

สำหรับผลกระทบภัยแล้งต่อภาคอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมที่จะถูกกระทบจากภัยแล้งจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมในภาคกลางรวมถึงจังหวัดลำพูนที่จะขาดน้ำ อย่างไรก็ตามนิคมฯเหล่านี้ได้มีการเตรียมความพร้อมอาทิ ขุดบ่อน้ำ และการทำน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ฉะนั้นภาคอุตสาหกรรมไม่น่าจะถูกกระทบมากเหมือนภาคเกษตร

"โดยสรุปแล้วภัยแล้งจะกระทบภาคอุปโภคบริโภคประมาณ6หมื่นล้านบาท"ดร.กิริฎากล่าว

ดร.กิริฎายังได้กล่าวถึงการลงทุนภาครัฐที่จะมีส่วนสำคัญผลักดันเศรษฐกิจไทยว่าต้องยอมรับภาครัฐมีความพยายามเร่งการลงทุนภาครัฐอย่างมาก ซึ่งงบประมาณก็มากกว่าปีก่อนกว่า20%พร้อมกับตั้งใจอัดเงินลงทุนมากกว่าปีที่แล้วรวมถึงการเบิกจ่ายมากกว่าปีที่แล้วด้วย อย่างไรก็ตามแม้รัฐจะเพิ่มการลงทุนแต่ถ้าภาคเอกชนไม่ลงทนตามก็จะ
ดึงจีดีพีขึ้นไม่ได้ฉะนั้นเอกชนต้องเข้ามาเสริมด้วยเพื่อดึงจีดีพีให้ขึ้้นได้

นอกจากนี้ภาคการท่องเที่ยวน่าจะเป็นอีกตัวหลักที่เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปีนี้โดยการท่องเที่ยวยังเป็นดาวรุ่งหนุนเศรษฐกิจไทยซี่งเข้ามามากที่สุดเป็นสัดส่วนประมาณ25%

 

LastUpdate 18/03/2559 18:49:30 โดย : Admin

19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 4:45 am