ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ฐานะการคลัง6เดือนปีงบฯ59ขาดดุลการคลัง359,670 ลบ.ขาดดุลเพิ่มจากปีก่อน46.4%



ฐานะการคลังภาคสาธารณะตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาวิเคราะห์นโยบายการคลัง (สศค. หรือ GFS) ไตรมาสที่ 2 (มกราคม – มีนาคม 2559) และในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2559


นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงฐานะการคลังภาคสาธารณะตามระบบ GFS (รัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และรัฐวิสาหกิจ) ว่าในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม  2558 – มีนาคม 2559) ขาดดุลการคลังทั้งสิ้น 359,670 ล้านบาท   (คิดเป็นร้อยละ 2.6 ของ GDP) โดยขาดดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 46.4
 
ทั้งนี้ ภาคสาธารณะมีรายได้รวม 3,067,594 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 286,599 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.5 เป็นผลจากรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) มีรายได้ลดลง สำหรับด้านรายจ่ายภาคสาธารณะมีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 3,427,264 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 172,530 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 อันเนื่องมาจากรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)) มีการเบิกจ่ายลดลง ทั้งนี้ ดุลการคลังเบื้องต้นของภาคสาธารณะ (Primary Balance) ขาดดุล 274,893 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2.0  ของ GDP)

ฐานะการคลังภาคสาธารณะตามระบบสถิติเพื่อการศึกษาวิเคราะห์นโยบายการคลัง (สศค. หรือ GFS) ไตรมาสที่ 2 (มกราคม – มีนาคม 2559) และในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2559

1. ฐานะการคลังภาคสาธารณะในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2559 (มกราคม – มีนาคม 2559) มีรายได้ 1,485,755 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 121,357 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.6 และมีรายจ่าย 1,607,013 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 26,973 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 ทั้งนี้ ดุลการคลังภาคสาธารณะในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2559 ขาดดุล 121,258 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 ของ GDP และเมื่อพิจารณาดุลการคลังเบื้องต้นของภาคสาธารณะ (Primary Balance) ซึ่งเป็นดุลการคลังที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานและทิศทางของนโยบายการคลังอย่างแท้จริง (ไม่รวมดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่าย รวมทั้งการชำระต้นเงินกู้) ขาดดุล 93,488 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.7 ของ GDP (รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 1) ดังนี้         1.1  ฐานะการคลังรัฐบาล รัฐบาลมีรายได้รวม 662,431 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 3,797 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 ประกอบด้วยรายได้รัฐบาล 548,473 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 24,828 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.7 เป็นผลจากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ การจัดเก็บภาษีน้ำมัน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น 11,973 9,200 4,626 และ 3,025 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาษีน้ำมันที่จัดเก็บได้สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันทั้งในกลุ่มของดีเซลและเบนซิน สำหรับกองทุนนอกงบประมาณ มีรายได้ทั้งสิ้น 113,958 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว     21,031 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.6 โดยมีสาเหตุสำคัญจากการปรับลดอัตรานำส่งเงินเข้ากองทุนมีผลทำให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายได้ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 24,095 ล้านบาท ในด้านรายจ่าย ภาครัฐบาลมีการเบิกจ่ายรวม 791,076 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 69,442 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.6 

ประกอบด้วย-  รายจ่ายรัฐบาล 696,479 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 43,943 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7-  รายจ่ายเงินกู้นอกงบประมาณ จำนวน 9,971 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) รายจ่ายเงินกู้โครงการเพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน จำนวน 8,562 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายของกรมชลประทาน จำนวน 3,173 ล้านบาท กรมทางหลวง จำนวน 2,883 ล้านบาท 

(2) รายจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) จำนวน 768 ล้านบาท เป็นการเบิกจ่ายสำหรับโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ 4 สายทาง จำนวน 554 ล้านบาท และโครงการการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง จำนวน 43 ล้านบาท (3) รายจ่ายตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง จำนวน 541 ล้านบาท และ (4) รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ จำนวน 100 ล้านบาท-  รายจ่ายกองทุนนอกงบประมาณ จำนวน 84,626 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 20,015 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.0 โดยมีสาเหตุมาจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีรายจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น 21,056 ล้านบาท

ดุลการคลังของภาครัฐบาลในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2559 ขาดดุล 128,645 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.9 ของ GDP) ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 65,645 ล้านบาท หรือร้อยละ 104.2  1.2  ฐานะการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)  อปท. มีรายได้ จำนวน 155,899 ล้านบาท  ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 10,458 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.3 โดยสาเหตุหลักเกิดจากการได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลลดลง 11,699 ล้านบาท ในขณะที่รายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บให้และแบ่งให้เพิ่มขึ้น 1,784 ล้านบาท ด้านรายจ่าย คาดว่า อปท. มีรายจ่าย จำนวน 143,284 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 18,865 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.2 จากรายได้และรายจ่ายดังกล่าว ส่งผลให้ดุลการคลังของ อปท. เกินดุล 12,615 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP) เกินดุลลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 29,323 ล้านบาท  1.3  ฐานะการคลังรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (รัฐวิสาหกิจฯ) มีรายได้ 824,336 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 147,913 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.2 โดยมีสาเหตุหลักจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มีรายได้ลดลงจำนวน 127,425 12,426 และ 11,399 ล้านบาท ตามลำดับ และมีรายจ่ายรวม 829,564 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 148,497 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.2 โดยมีสาเหตุหลักจากการที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีรายจ่ายประจำลดลง 132,078 14,120 และ 3,611 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งจากรายได้และรายจ่ายดังกล่าว ดุลการคลังของรัฐวิสาหกิจฯ ขาดดุล 5,228 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของ GDP) 


ฐานะการคลังภาคสาธารณะในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม 2558 – มีนาคม 2559) มีรายได้ 3,067,594 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 286,599 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.5 เป็นผลจากรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีรายได้ลดลง 344,725 ล้านบาท สำหรับด้านรายจ่ายมีทั้งสิ้น 3,427,264 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 172,530 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 ส่งผลให้ดุลการคลัง ภาคสาธารณะขาดดุล 359,670 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.6 ของ GDP โดยขาดดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 114,069 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.4 

ทั้งนี้ ดุลการคลังเบื้องต้นของภาคสาธารณะ (Primary Balance) ขาดดุล 274,893 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.0 ของ GDP (รายละเอียดตามตารางที่ 2) ดังนี้2.1  ฐานะการคลังรัฐบาล รัฐบาลมีรายได้รวม 1,409,048 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 45,457 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.3 ประกอบด้วยรายได้รัฐบาล 1,130,401 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน       ของปีที่แล้ว 75,905 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.2 สาเหตุหลักเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีน้ำมันได้สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 28,625 ล้านบาท เนื่องมาจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันในกลุ่มดีเซลและเบนซินขึ้น นอกจากนี้ ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้เพิ่มขึ้น 9,153 และ 8,241 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับกองทุนนอกงบประมาณมีรายได้ทั้งสิ้น 278,647 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 30,448 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 โดยมีสาเหตุจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีรายได้จากเงินนำส่งเข้ากองทุนจากการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงลดลง 24,095 ล้านบาท และกองทุนประกันสังคมมีรายได้จากเงินสมทบลดลง 918 ล้านบาท  ในด้านรายจ่าย รัฐบาลมีรายจ่ายรวม 1,753,147 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 127,770 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.9 

ประกอบด้วย-  รายจ่ายรัฐบาล 1,532,064 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 73,962 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.1 -  รายจ่ายเงินกู้นอกงบประมาณ จำนวน 39,277 ล้านบาท ประกอบด้วย

 (1) รายจ่ายเงินกู้โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่ง จำนวน 36,352 ล้านบาท (2) รายจ่ายจากเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) จำนวน 1,382 ล้านบาท (3) รายจ่ายตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง จำนวน 1,175 ล้านบาท (4) รายจ่ายเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำ จำนวน 235 ล้านบาท และ (5) รายจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ จำนวน 133 ล้านบาท-  รายจ่ายกองทุนนอกงบประมาณ จำนวน 181,806 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 21,928 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.7 โดยมีสาเหตุมาจากกองทุนประกันสังคมมีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญดุลการคลังของรัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2559 ขาดดุล 344,099 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2.5 ของ GDP) ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 82,313 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.4  2.2  ฐานะการคลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อปท. มีรายได้ จำนวน 325,340 ล้านบาท  ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 19,991 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.8 เนื่องจากได้รับเงินอุดหนุนและจัดเก็บรายได้เองได้ลดลง 17,601 และ 844 ล้านบาท ตามลำดับ 

สำหรับด้านรายจ่าย คาดว่า อปท. มีรายจ่าย จำนวน 292,283 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 6,979 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 ส่งผลให้ดุลการคลังของ อปท. เกินดุล 33,057 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP) เกินดุลลดลง 26,970 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่เกินดุล จำนวน 60,027 ล้านบาท  2.3  ฐานะการคลังรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (รัฐวิสาหกิจฯ) มีรายได้ 1,712,282 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 344,725 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.8 โดยมีสาเหตุหลักจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีรายได้ลดลง จำนวน 293,168 23,207 และ 18,752 ล้านบาท ตามลำดับ ด้านรายจ่ายรัฐวิสาหกิจฯ มีรายจ่ายรวม 1,760,910 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 339,939 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.2 โดยมีสาเหตุหลักจากการที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีรายจ่ายประจำลดลง 299,506 27,410 และ 18,386 ล้านบาท ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการคลังของรัฐวิสาหกิจฯ ขาดดุล 48,628 ล้านบาท 





LastUpdate 01/07/2559 10:52:15 โดย : Admin

27-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 27, 2024, 2:57 am