ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ปปง.สั่งยึดทรัพย์เครือข่ายเสี่ยเปี๋ยง 7 พันล้านคดีทุจริตจำนำข้าว/ทัวร์ศูนย์เหรียญกว่าหมื่นลบ.


 

 
พลตำรวจเอก ชัยยะ ศิริอำพันธ์กุล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (เลขาธิการ ปปง.) แถลงข่าว การดำเนินงานในคดีสำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชน  กรณีคดีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ กับพวก รวม 21 คนตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ กับพวกรวม 21 คน กระทำความผิดด้วยการแบ่งหน้าที่กันทำงานโดยช่วยเหลือมุ่งหมาย และเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ไม่ต้องแข่งขันราคากับผู้เสนอรายอื่น แล้วนำข้าวที่ซื้อได้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาขายในประเทศ หรือต่ำกว่าราคาที่รับจำนำ นำไปขายต่อให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในประเทศ หรือนำไปให้บริษัทสยามอินดิก้านำไปขายต่ออีกทอดหนึ่ง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่กรมการค้าต่างประเทศและประเทศชาติ คิดเป็นมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท อันเป็นความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542

จากการรวบรวมพยานหลักฐานและตรวจสอบธุรกรรมการทางการเงินดังกล่าวพบว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าว มีพฤติการณ์ทุจริตโดยการปลอมสัญญาให้ดูเสมือนมีการซื้อขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐจริง รวมถึงการตรวจพบการได้ไป ซึ่งทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดกับการทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทั้งกลุ่มบริษัทสยามอินดิก้า บริษัท สิราลัย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทกีธา) และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนายอภิชาติ จันทร์ สกุลพร (เสี่ยเปี๋ยง)
          
สำนักงาน ปปง. ตรวจสอบทรัพย์สินของกลุ่มผู้กระทำความผิดดังกล่าว พบว่า ทรัพย์สินดังกล่าวมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าได้มาจากการกระทำความผิดและเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (5) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ได้มีมติให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทสยามอินดิก้า บริษัท สิราลัย (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทกีธา) และบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ นายอภิชาติ จันทร์ สกุลพร (เสี่ยเปี๋ยง) เป็นเงินฝากในบัญชีธนาคารจำนวน 51 บัญชี มูลค่าประมาณ 921 ล้านบาท และที่ดินในกรุงเทพมหานคร ลำพูน ภูเก็ต พังงา พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง จำนวน 611 รายการ มูลค่าประมาณ 5,970 ล้านบาทรวมทั้งสิ้น 662 รายการ มูลค่าประมาณ 7,000 ล้านบาท


อีกคดี คดีบริษัทฝูอัน ทราเวล จำกัดและบริษัท โอเอ ทรานสปอร์สำนักงาน ปปง. บูรณาการร่วมกับกองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กรมการท่องเที่ยว กรมการพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการขนส่งทางบก และเจ้าหน้าที่ทหาร ร่วมดำเนินการเข้าตรวจค้นบริษัท ฝูอัน ทราเวล จำกัด และ บริษัท ซินหยวน ทราเวล จำกัด เป็นบริษัทนำเที่ยวภายในประเทศไทยต่ำกว่าทุน หรือบริษัททัวร์ศูนย์เหรียญ ที่มีนางถวัล แจ่มโชคชัย และนายสมเกียรติ คงเจริญ (ชาวจีนที่ลักลอบสวมบัตรประชาชนของนายสมเกียรติ คงเจริญ คนไทยซึ่งเสียชีวิตไปตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมา) เป็นกรรมการผู้จัดการและมีหุ้นอยู่ในบริษัทฝูอัน
          
จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า บริษัท ฝูอัน ทราเวล จำกัด และ บริษัท ซินหยวน ทราเวล จำกัด ใช้บริการรถบัสโดยสารของบริษัท โอเอ ทรานสปอร์ต จำกัด โดยไม่ต้องจ่ายค่าเช่ารถบัสโดยสาร แต่มีข้อตกลงและเงื่อนไขจะต้องพานักท่องเที่ยวไปซื้อสินค้าตามร้านหรือสถานที่ตามที่บริษัท โอเอ ทรานสปอร์ต จำกัด กำหนดไว้ 4 ที่ คือ1.บริษัท รอยัล เจมส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด2.บริษัทรอยัล พาราไดซ์ จำกัด 3.บริษัท รอยัล ไทย เฮิร์บ จำกัด4.บริษัท บางกอก แฮนดิคราฟท์ เซ็นเตอร์ จำกัดและมัคคุเทศก์ใช้วิธีบังคับ ล่อลวง ขู่เข็ญนักท่องเที่ยว ให้ซื้อสินค้าในราคาสูงเกินจริง โดยบริษัท โอเอ ทรานสปอร์ต จำกัด (ซึ่งมีนางนิสา โรจน์รุ่งรังสี นายวสุรัตน์ โรจน์รุ่งรังสี กับพวก เป็นประธานกรรมการและกรรมการ) จะจ่ายเงินค่าตอบแทนจำนวน 20-30% จากยอดขายที่นักท่องเที่ยวซื้อสินค้า และหากไม่เป็นไปตามข้อตกลง บริษัท ฝูอัน ทราเวล จำกัด และ บริษัท ซินหยวน ทราเวล จำกัด จะต้องถูกปรับค่าเสียหาย ต่อมาศาลอาญาอนุมัติหมายจับนายสมเกียรติคงเจริญ และนางนางธวัล แจ่มโชคชัย ในความผิดฐานเป็นสมาชิกอั้งยี่ และร่วมกันประกอบธุรกิจนำเที่ยวกระทำการอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวและเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 นางนิสา โรจน์รุ่งรังสี ประธานกรรมการบริษัท โอเอ ทรานสปอร์ต จำกัด นายวสุรัตน์ โรจน์รุ่งรังสี กรรมการบริษัท โอเอ ทรานสปอร์ต ในความผิดฐานเป็นสมาชิกอั้งยี่ และร่วมกันประกอบธุรกิจนำเที่ยวกระทำการอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยว
          
สำนักงาน ปปง. ได้ดำเนินการตรวจสอบเส้นทางการเงินและการทำธุรกรรมของบริษัท โอเอ ทรานสปอร์ต ตามพฤติการณ์ร่วมกันกระทำความผิดอั้งยี่ตามประมวลกฎหมายอาญาหรือการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมที่มีกฎหมายกำหนดเป็นความผิดกับผู้ต้องหาอันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (10) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ได้มีมติยึดและอายัดทรัพย์สิน จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้ครั้งที่ 1 เงินฝากในบัญชีธนาคารของผู้เกี่ยวข้องบริษัทฝูอัน รวม 25 รายการ รวม 28,543,556.29 บาทครั้งที่ 2 เงินฝากในบัญชีธนาคารของผู้เกี่ยวข้องบริษัทฝูอัน สลากออมสิน รวม 2 รายการ รวม 3,100,000 บาทครั้งที่ 3 เงินฝากในบัญชีธนาคารของผู้เกี่ยวข้องบริษัทโอเอทรานสปอร์ต รวม 2,247 รายการ แบ่งเป็นเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร 92 บัญชี เป็นเงิน 4,200 ล้านบาท และรถบัสโดยสาร จำนวน 2,155 คัน มูลค่า 9,000 ล้านบาท รวมทรัพย์สิน ทั้งหมด 2,274 รายการ เป็นเงินทั้งสิ้นกว่า 13,200 ล้านบาท
          
 
 
 

LastUpdate 09/09/2559 18:33:33 โดย : Admin

25-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 25, 2024, 5:06 am