ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์ วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังนักลงทุนวิตกกังวลต่อปริมาณน้ำมันดิบล้นตลาด


- ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง จากความกังวลในเรื่องของอุปทานล้นตลาด หลังโอเปกและรัสเซียปรับเพิ่มปริมาณการผลิตในเดือน พ.ย.
  

- ผลสำรวจรอยเตอร์ระบุว่า ปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปกในเดือน พ.ย. 59 ปรับเพิ่มขึ้น 370,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับ 34.19 ล้านบาร์เรลต่อวัน
  

- ปริมาณการผลิตของรัสเซียในเดือน พ.ย. 59 ปรับเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ 11.21 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 30 ปี ซึ่งชี้ให้เห็นว่าปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปกและรัสเซียรวมกัน เป็นปริมาณเกือบร้อยละ 50 ของความต้องการน้ำมันดิบโลก ซึ่งอยู่ที่มากกว่า 95 ล้านบาร์เรลต่อวัน
  

- ซาอุดิอาระเบียและคูเวต อาจตกลงกันกลับมาดำเนินการผลิตน้ำมันดิบบริเวณ neutral zone อีกครั้ง ซึ่งอาจส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบบริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้นราว 300,000 บาร์เรลต่อวัน ในช่วงปลายไตรมาส 1 หรือต้นไตรมาส 2 ปี 2560
  

+ หลังปิดตลาด สถาบันปิโตรเลียมสหรัฐฯ หรือ API เปิดเผยตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 2 ธ.ค. ปรับลดลง 2.2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 485.4 ล้านบาร์เรล ซึ่งปรับลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะปรับลดลง 1 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นมีการใช้น้ำมันดิบมากขึ้น

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากเวียดนามและอียิปต์ อย่างไรก็ดี อุปทานน้ำมันเบนซินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน หลังไต้หวันกลับมาส่งออกน้ำมันเบนซินในเดือน ม.ค. 60
  

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานที่มีเพียงพอในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะจากไต้หวันที่แผนการเสนอขายน้ำมันดีเซลในเดือน ม.ค. 60 ถึง 720,000 บาร์เรล อย่างไรก็ดี อุปสงค์อยู่ในระดับดีเช่นกัน เนื่องจากอินเดียมีความต้องการใช้ในประเทศมากขึ้น หลังผ่านช่วงฤดูมรสุม

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

  

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
  

าคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 51-56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง
  

ภาวะอุปทานโลกล้นตลาดมีแนวโน้มคลี่คลายลง หลังในการประชุมกลุ่มโอเปกวันที่ 30 พ.ย. กลุ่มโอเปกสามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตลงราว 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 32.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งนับเป็นการตกลงกันครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2551 โดยการปรับลดกำลังการผลิตนำโดย ซาอุดิอาระเบีย อิรัก คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อย่างไรก็ตาม ทางด้านอิหร่าน ลิเบีย และ ไนจีเรียได้รับการยกเว้นการปรับลดกำลังการผลิต
  

จับตาดูการประชุมระหว่างผู้ผลิตกลุ่มโอเปก และนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 10 ธ.ค. เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อตกลงลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก โดยกลุ่มโอเปกเสนอให้ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกปรับลดกำลังการผลิตลงทั้งสิ้นราว 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยคาดว่ากว่า 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาจากการปรับลดกำลังการผลิตของรัสเซีย


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 07 ธ.ค. 2559 เวลา : 12:03:18

26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 5:15 am