ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์ วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังอุปทานน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น


  - ราคาน้ำมันดิบปรับลดในวันจันทร์ที่ผ่านมา หลังอุปทานน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยจำนวนแท่นขุดเจาะในสหรัฐฯ ที่รายงานโดย Baker Hughes สิ้นสุด ณ วันที่ 3 ก.พ. 60 ที่ผ่านมาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 17 แท่นขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 583 แท่น โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกันและเป็นระดับที่สูงสุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 58 เป็นต้นมา ทั้งนี้นักวิเคราะห์ราคาน้ำมันส่วนใหญ่ ยังคงมองว่า ปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบในสหรัฐฯ จะยังคงมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอีกในอนาคต
  - นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจาก สัญญา Long Position ที่อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงสิ้นเดือนม.ค. 60 ซึ่งหากราคาน้ำมันดิบไม่สามารถปรับตัวขึ้นไปได้ นักวิเคราะห์คาดว่าจะมีแรงขายทำกำไรออกมาได้ในอนาคตอันใกล้นี้
  + อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบยังมีแรงหนุนจากความตึงเครียดครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบ เป็นอันดับที่สามของโลก หลังทางการสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะสนับสนุนมาตรการคว่ำบาตรต่อประเทศอิหร่านจากการฝ่าฝืนข้อ ตกลงการทดลองขีปนาวุธ ถึงแม้ว่ามาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ จะไม่มีผลต่อกำลังการผลิตน้ำมันดิบของอิหร่าน แต่ความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ จะส่งผลให้มีแรงกดดันต่อการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านในอนาคต
  + ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากข้อตกลงลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกและผู้ ผลิตน้ำมันดิบนอกกลุ่ม ซึ่งได้มีการปรับลดกำลังการผลิตลงตั้งแต่ต้นเดือน ม.ค. 60 เป็นต้นมา 

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากราคา NYMEX RBOB ที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศปากีสถาน อย่างไรก็ดีราคาน้ำมันเบนซินยังได้รับแรงกดดันจากแนวโน้มการนำเข้าน้ำมัน เบนซินที่ลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีในเวียดนาม
  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอินโดนีเซียที่วางแผนจะนำเข้าน้ำมันดีเซลเพิ่ม ขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์นี้

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 51-56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
   ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 53-58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง
  การปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและ นอกกลุ่มโอเปกมีความเป็นไปได้มากขึ้น หลังผลสำรวจของ Reuters รายงานปริมาณการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตกลุ่มโอเปกในเดือน ม.ค. 60 ปรับลดลงราว 0.958 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 82% เมื่อเทียบกับข้อตกลงปรับลดลงกำลังการผลิต 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับว่าเป็นการปรับลดมากกว่าในอดีตที่สามารถปรับลดได้เพียง 60% ในปี 2552 ในขณะที่ ผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกรายใหญ่อย่างรัสเซียปรับลดกำลังการผลิตลงราว 0.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือนม.ค. 60 เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตในเดือน ธ.ค. 59 มาสู่ระดับ 11.11 ล้านบาร์เรลต่อวัน
  จับตาสถานการณ์ความตึง เครียดระหว่างสหรัฐฯ และ อิหร่านที่อาจช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบ หลังอิหร่านออกมายืนยันว่าได้ทดสอบขีปนาวุธครั้งล่าสุด หลังนายโดนัล ทรัมป์ รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางกับที่นายโดนัล ทรัมป์ได้กล่าวไว้ในช่วงหาเสียง ว่าจะต่อต้านกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับขีปนาวุธของอิหร่าน นอกจากนี้ อิหร่านยังยืนยันว่าการทดสอบขีปนาวุธนั้นเป็นไปตามแผนของประเทศ และจะไม่ยอมให้ต่างชาติมาแทรกแซง
  ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง จากปริมาณการนำเข้าที่ปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับโรงกลั่นภายในประเทศปรับลดอัตราการกลั่น โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 27 ม.ค. 60 ปรับเพิ่มขึ้นราว 6.47 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 494 ล้านบาร์เรล

 


บันทึกโดย : วันที่ : 07 ก.พ. 2560 เวลา : 10:38:37

23-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 23, 2024, 9:55 pm