ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ไทยออยล์ วิเคราะห์ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลด หลังความไม่แน่นอนในเรื่องของการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิต


ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลด หลังความไม่แน่นอนในเรื่องของการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิต
  - ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 1 จากความไม่แน่นอนในเรื่องของการขยายระยะเวลาในการปรับลดกำลังการผลิต
   - ปริมาณการผลิตของรัสเซียอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 30 ปี หากผู้ผลิตกลุ่มโอเปกไม่สามารถบรรลุข้อตกลงในการปรับลดกำลังการผลิตลงได้ โดยรัฐมนตรีพลังงานรัสเซีย กล่าวไว้เมื่อเดือน มี.ค. 60 ว่าปริมาณการผลิตเฉลี่ยอาจเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 11.01-11.07 ล้านบาร์เรลต่อวัน แตะระดับค่าเฉลี่ยสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2530
  - ราคาน้ำมันดิบยังคงถูกกดดันจาก จำนวนแท่นขุดเจาะและปริมาณการผลิตน้ำมันสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
   - ปริมาณแท่นขุดเจาะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 14 สัปดาห์ติดต่อกัน มาอยู่ที่ 688 แท่น แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 58 ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมัน shale ในสหรัฐฯ เดือน พ.ค. อาจปรับตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบมากกว่า 2 ปี
  - ปริมาณการผลิตน้ำมัน ของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 10 จากช่วงกลางปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 9.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณการผลิตของผู้ส่งออกรายใหญ่ของโอเปก เช่น ซาอุดิอาระเบีย
  - ตลาดยังคงรอสัญญาณความชัดเจนในเรื่องของการขยายระยะเวลาในปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงกดดันจากการส่งออกน้ำมันเบนซินจากประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเบนซินยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ที่ยังแข็งแกร่งจากภูมิภาคตะวัน ออกกลางอยู่
  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากอุปทานในภูมิภาคที่ตึงตัว ประกอบกับมีโรงกลั่นน้ำมันในภูมิภาคตะวันออกกลางปิดซ่อมบำรุงอีกด้วย

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
   ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 47-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
   ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง
  จับตาการประชุมระหว่างผู้ผลิตน้ำมันดิบในและ นอกโอเปกก่อนการประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 24-25 พ.ค. 60  ว่าจะมีจะมีการขยายระยะเวลาของมาตรการปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่ ภายหลังปริมาณน้ำมันคงคลังเชิงพาณิชย์ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วยังอยู่ในระดับ ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีค่อนข้างมาก แม้ว่ากลุ่มโอเปกจะปรับลดกำลังการผลิตมากกว่าที่ได้ตกลงไว้ก็ตาม โดยล่าสุดซาอุดิอาระเบีย คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีความเห็นไปพ้องกันว่าควรขยายระยะเวลาของมาตรการแต่ข้อตกลงดังกล่าวขึ้นกับ เงื่อนไขว่าผู้ผลิตนอกกลุ่มจะต้องปรับลดกำลังการผลิตลงด้วยเช่นกัน ซึ่งทางด้านของรัสเซียยังไม่ได้มีการออกมาให้ความเห็นแต่อย่างใด
ปริมาณ น้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะปรับตัวลดลงหลังโรงกลั่นน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มกำลังการกลั่นขึ้นมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือนที่ราวร้อยละ 93 เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูกาลขับขี่ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวช่วยลดผลกระทบของการผลิตน้ำมันดิบในประเทศที่เพิ่มขึ้น ต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับ 9.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 14 เม.ย. ปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่สองติดต่อกัน โดยปรับลดลงราว 1.0 ล้านบาร์เรล
   การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มการขุดเจาะน้ำมันดิบขึ้นต่อเนื่องมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี โดย Baker Hughes รายงานปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 21 เม.ย. ปรับเพิ่มขึ้น 5 แท่น มาอยู่ที่ระดับ 688แท่น นับเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 13 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยกว่า 2 ใน 3 ของการปรับเพิ่มขึ้นมาจากแหล่งผลิต Permian ที่มีต้นทุนการผลิตที่ค่อนข้างต่ำ

 


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 เม.ย. 2560 เวลา : 11:11:24

26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 9:27 pm