ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน ดอลลาร์กลับมาแข็งค่า กดดันให้สกุลเงินอื่นอ่อนค่าทั่วโลก ทั้งยูโร เอเชีย รวมถึงบาท (27/09/60)


 กลยุทธ์การลงทุน

  ดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่า กดดันให้สกุลเงินอื่นอ่อนค่าทั่วโลก ทั้งยูโร และเอเชีย รวมถึงบาท ช่วยลดแรงกดดันเรื่อง margin หนุนส่งออก ขณะที่แรงกดดันประกาศของทางการ ต่อการเตรียมตัวของ ธ.พ. รองรับ Basil III ไม่ใช่เรื่องใหม่ ทุกแห่งมีเงินกองทุนเกินขั้นต่ำ ไม่น่ากังวล แต่ระยะสั้น SET ต้องเผชิญกับแนวต้าน 1670-78 จุด ยังแนะนำถือหุ้น Laggards THCOM, INTUCH, VGI, PTTEP  หุ้นกำไรเด่นงวด 2H60 (HANA, TSTH, BCH) Top picks หุ้นส่งออก ชอบ HANA (FV@B53) และ GFPT(FV@B) กำไรเข้าสู่ peak ในงวด 3Q60   

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย.....กลุ่มพลังงาน หนุนตลาดปิดบวก
  ตลาดหุ้นภูมิภาคและตลาดหุ้นโลก ยังคงผันผวน จากความตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีเหนือ  อย่างไรก็ตาม SET Index ยังประคองตัวโดยบวกเพิ่มขึ้นตลอดทั้งวัน  โดยตอนเช้าเปิดกระโดดกว่า 4 จุด และสามารถขึ้นไปแตะที่จุดสูงสุด 1674 จุด ก่อนที่ช่วงบ่ายจะย่อกลับมาปิดที่ 1669.75 เพิ่มขึ้น 2.16 จุด หรือ 0.13% มูลค่าการซื้อขาย 6.05 หมื่นล้านบาท โดยมีหุ้นพลังงานยังคงนำตลาด โดย PTT และ PTTEP ปรับตัวขึ้นอีก 1.46% และ 1.12%  ซึ่งได้แรงหนุนจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบซึ่งฟื้นตัวสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี ซึ่งน่าจะเป็นผลจากความกังวลต่อปัญหา over supply น้ำในตลาดโลกผ่อนคลายลงจากหลายเหตุผลคือ ความคาดหวังว่าผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก จะยืดเวลา ลดกำลังผลิต 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไป  และ ความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ ปัจจุบันราคาหุ้นน้ำมันยัง Laggard อยู่มากสะท้อนจาก ราคาน้ำมันดิบ Dubai เพิ่มขึ้นจากจุดต่ำสุดช่วงเดือนมิถุนายนมาแล้วกว่า 28% ขณะที่ราคาหุ้น PTT และ PTTEP ปรับเพิ่มขึ้น 10% และ 4.62% 
  ส่วนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มพลังงานที่ปรับขึ้นคือ กลุ่มโรงไฟฟ้า ทั้ง EGCO เพิ่มขึ้น 0.43%, RATCH เพิ่มขึ้น 0.46%, GLOW เพิ่มขึ้น 0.28% และ GPSC เพิ่มขึ้น 3.37 ส่วนกลุ่มอื่นที่ปรับขึ้นคือ กลุ่มค้าปลีก BJC เพิ่มขึ้น 2.40%, HMPRO เพิ่มขึ้น 1.80 และ ROBINS เพิ่มขึ้น 0.79%  และหุ้น GL ปิดที่ 23.80 บาท เพิ่มขึ้นแรงกว่า 22.05%  ส่วนหุ้นน้องใหม่ SKN ที่เพิ่งเข้าเทรดเป็นวันแรกปิดที่ 9.50 เพิ่มขึ้น 29.25% จากราคา IPO ที่ 7.25 บาท 
  สวนทางหุ้นธนาคารพาณิชย์นำลงทั้งกลุ่มวานี้ เพราะกังวลต่อหนังสือเวียนของทางการ ที่พูดถึง ธ.พ. ขนาดใหญ่ 5 แห่ง หลังการประกาศใช้ Basil III (อ่านรายละเอียดในย่อยหน้าถัดไป)  โดย BAY ลดลง 1.32%, BBL ลดลง 0.27%, KBANK ลดลง 0.48%, TMB ลดลง 0.81% และ SCB ลดลง 0.32%  
  ส่วนแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดยังแกว่งเพื่อสร้างฐาน โดยยังมีรับ จะมีแนวรับสำคัญอยู่ที่บริเวณ 1660 จุด แนวต้าน 1670-1678 จุด
Fed ยังหนุนดอกเบี้ยขาขึ้นแต่ค่อยเป็นค่อยไป..ตลาดแรงงานแข็งแกร่ง
  การกล่าวสุนทรพนจ์ของนางเจเน็ต เยเลน ประธาน Fed วานนี้   ใจความสำคัญยังส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยฯ แต่แบบค่อยเป็นค่อยไป  ถึงแม้ว่าอัตราเงินเฟ้อยังมีความผันผวนสูง  ล่าสุดเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 2560 พุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 1.9% หลังจากที่ชะลอตัวในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า เนื่องจากผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคน Harvey และ Irma พัดถล่มรัฐเท็กซัสและรัฐฟลอริดา แม้จะเกิดในช่วงสั้น ๆ  ขณะที่ยังเห็นว่าตลาดแรงงานยังขยายตัวแข็งแกร่ง 
  ในความเห็นของ ASPS  เชื่อว่าตลาดแรงงานสหรัฐได้ผ่านจุดสูงสุด สะท้อนจากที่ทรงตัวอยู่ในระดับ 4.3-4.4% ซึ่งระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปี และน่าจะเป็นระดับที่ถือว่ามีการจ้างงานเต็มที่ (Full employment) ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ Fed กำหนด ด้วยเหตุนี้จึงคาดว่าโอกาสที่เงินเฟ้อจะเร่งตัวจากนี้อาจจะยากขึ้น  จึงคาดว่า  Fed  มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมที่เหลืออีก 2 ครั้งในปีนี้ ยากขึ้น แต่น่าจะไปขึ้นในปีหน้า 3 ครั้ง ตามที่กำหนดไว้เดิม  
  นอกจากนี้ยังกำหนดจะทยอยลดขนาดงบดุลตั้งแต่ ต.ค. นี้ เดือนละ 1 หมื่นล้านเหรียญฯ  ซึ่งจะมีผลทำให้ปริมาณเงินในระบบลดลง เท่ากับหนุนให้ดอกเบี้ยตลาดเงินสหรัฐขยับขึ้น ซึ่งแน่นอนหนุนค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ  ล่าสุดพบว่าเงินดอลลาร์ ได้แข็งค่าราว 1.1 % นับตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย. 2560 (หลังจากที่อ่อนค่าราว 10% นับตั้งแต่ต้นปี) ส่งผลให้ค่าเงินคู่ค้าหลัก โดยเฉพาะเอเซียอ่อนค่า อาทิ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าราว  0.41% ในช่วงเดียวกัน  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อหุ้นส่งออกในช่วงสั้น   

เงินบาทอ่อนหนุนหุ้นส่งออก  HANA, GFPT, CPF
  เงินบาทที่มีแนวโน้มกลับมาอ่อนค่าดังกล่าวข้างต้นนับว่าเป็นผลดีต่อหุ้นส่งออก โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงจากที่ยังมีส่วนต่างระหว่างรายได้หักต้นทุนในรูปดอลลาร์ (กล่าวคือ เงินบาทแข็งจะกดดันประสิทธิภาพการทำกำไรลดลง ตรงกันข้ามเงินบาทอ่อนตัวจะหนุนการทำกำไร) ขณะที่งวด 3Q60 เข้าสู่ฤดูกาลส่งออก จึงยังชื่นชอบหุ้นชิ้นส่วนฯ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่เติบโตตามเทคโนโลยี่ใหม่ ๆ ในโลกดิจิทัล  ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ สมาร์ทโฟน โทรคมนาคม (4G LTE)  และเทคโนโลยี Internet of things (IoT)  เป็นต้น สะท้อนได้จากข้อมูลของ North America Semi Bullings Report (ความต้องการชิ้นส่วนของโลก) เดือน ก.ค. อยู่ท่ 2.27 พันล้านดอลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 52% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อ่อนตัวเล็กน้อย 1.4% จากเดือน มิ.ย. 2560  ซึ่งเป็นการทำสถิติสูงสุดในรอบ 16 ปี  โดยหุ้นที่ได้ประโยชน์โดยตรงในภาวะนี้ คือ HANA(FV@B53) ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกชิ้นส่วนหลากหลาย   ทั้งกลุ่มยานยนต์  สมาร์ทโฟน และ ฉลากอัจฉริยะ (FRID) เป็นฉลาก หรือ บาร์โค้ช ที่ใช้แกนในการทำธุรกรรมต่าง ๆ  พร้อมยังสามารถบันทึกข้อมูลไว้ใช้ประโยชน์ได้   ประเมินว่างวด 3Q60 จะสูงสุดของปีนี้ และทั้งปี จะเติบโต 24%  แต่อาจจะลดลงเหลือเติบโตเพียง 9% ในปีหน้า แต่ถือว่ายังเติบโตเท่ากับตลาด 
  GFPT (FV ปี 2561@B23) ซึ่งเป็นผลิตและส่งออกไก่ ซึ่งกำลังเข้าสู่ฤดูกาลงวด 3Q60  น่าจะหนุนราคาไก่ปรับสูงขึ้นจากปัจจุบันสู่ระดับ 40 บาท/ก.ก. ในงวด 2H60  ขณะที่ราคาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพดและกากถั่วเหลืองยังทรงตัวต่ำต่อเนื่องจากงวด 1Q60 เนื่องจากผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองยังออกสู่ตลาดมากขึ้น  แนวโน้มกำไรสุทธิปี  2560 จะเติบโต 15.8% แต่จะอ่อนตัวลงเหลือ 7.0% ปี 2561 
  CPF(FV@B29.40)  ซึ่งเป็นผลิตและส่งออกเนื้อสัตว์ อาทิ ไก่ , เป็ด ,หมู , กุ้ง  มีแนวโน้มกำไรที่ดีขึ้นในงวด 3Q60 จากที่ชะลอตัวในงวด 2Q60  จากผลระทบของธุรกิจสุกรในเวียดนาม แต่เริ่มเห็นสัญญาณที่ขึ้นขณะนี้ โดยพบว่าราคาสุกรในเวียดนามเริ่มทยอยฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดที่ลงไปแตะ 2 หมื่นดอง/ก.ก. โดยล่าสุดเพิ่มขึ้นมาที่ 3.3 หมื่นดอง/ก.ก. (เทียบเท่า 50 บาท/ก.ก.) เพิ่มขึ้นถึง 60% mom จากการที่จีนเริ่มทยอยเปิดด่านการค้าชายแดน ทำให้มีช่องทางระบายสุกรออกจากเวียดนาม   คาดกำไรจากการดำเนินงานปี 2561 จะพลิกกลับมาเติบโตถึง 33.5% จากที่หดตัวในปี 2560  จากการฟื้นตัวของธุรกิจสุกรในเวียดนาม  การส่งออกไก่ยังสดใส และอุตสาหกรรมกุ้งในประเทศฟื้นตัวต่อเนื่อง  

ต่างชาติขายสุทธิหุ้นทั้งภูมิภาค ยกเว้นเพียงไทย 
  วานนี้ความกังวลต่อความรุนแรงในคาบสมุทรเกาหลีปะทุขึ้นมาอีกครั้ง กดดันให้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคกว่า 609 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และเป็นการขายสุทธิถึง 4 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 302 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ตามมาด้วยไต้หวัน 275 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6), ฟิลิปปินส์ 23 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน) และอินโดนีเซีย 13 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานกว่า 19 วัน) ยกเว้นเพียงตลาดหุ้นไทยพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติซื้อสุทธิ 5 ล้านเหรียญ หรือ 150 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.15 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.44 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 426 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)

BBL, KTB, SCB, KBANK และ BAY พร้อมรองรับ Basil III
  วานนี้ตลาดมีความกังวลต่อการออกหนังสือเวียน ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  แนวทางการกำกับดูแล ธ.พ. ใหญ่ 5 แห่ง คือ BBL, KTB, SCB, KBANK และ BAY  เพื่อกำกับดูแลให้ธนาคารพาณิชทั้ง 5 แห่ง สามารถเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1  ให้ครบ 12% ภายในปี 2562  จากเกณฑ์เดิมที่ 6%  หรือเพิ่มขึ้น  6%  ภายใต้มาตรฐานสากล Basel III  ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2558   ขณะที่ธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ นอกเหนือจาก 5 แห่ง ให้เพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 1 อีก 5% เป็น 11% ในปี 2558 การที่  ธนาคารขนาดใหญ่ทั้ง 5 แห่ง ถูกกำหนดให้มีเงินกองทุนเกินกว่าธนาคารทั่วไป  1% นั่นเป็นเพราะมีธุรกรรมการเงินเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการเงินและระบบการเงินที่สำคัญในเชิงระบบเศรษฐกิจโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งยังมีผลิตภัณฑ์การเงินที่มีความซับซ้อนกว่าแห่งอื่นๆ    
ทั้งนี้เงินกองทุนที่เพิ่มขึ้นทั้งระบบ  5% ภายใต้ Basel III เพื่อรองรับความเสี่ยง 2 ส่วน คือ  
  1) Conservation buffer ซึ่งเป็นเงินกองทุนส่วนเพิ่มอีก 2.5% เพื่อรองรับผลขาดทุนในภาวะวิกฤต และ 2) Countercyclical buffer ซึ่งเป็นเงินกองทุนส่วนเพิ่มอีก 2.5% เพื่อรองรับความเสี่ยงเชิงระบบที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขาลง  
  ทั้งนี้หากพิจารณาเงินกองทุนขั้นที่ 1 ของทั้ง 5 แห่ง ถือว่า สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดทั้งสิ้น โดย BBL มี Tier1 สูงสุดถึง 16.40% ตามด้วย SCB 15.30% KBANK 15.25% KTB 13.07% และ BAY 12.25% ทั้งนี้ยังไม่รวมผลกำไรจากการดำเนินงานที่จะเกิดขึ้นในปี 2560-2562 จึงสามารถรองรับการทำธุรกรรม และไม่ต้องกังวลเรื่องเพิ่มทุนของ ธ.พ. ทั้ง 5 แห่ง  
  ดังนั้น การปรับลดลงของราคาหุ้น ธ.พ. ทั้ง 5 แห่งวานนี้ ไม่ว่าจะเป็น BBL ลดลง 0.27% SCB ลดลง 0.32% KBANK ลดลง 0.48% KTB ลดลง 1.05% และ BAY ลดลง 1.32% จึงเป็นการสะท้อนในแง่ลบมากเกินไป ถือเป็นโอกาสดีในการเข้าสะสมหุ้น ธ.พ. ที่มีความแข็งแกร่ง ฝ่ายวิจัยแนะนำ SCB (FV@B178.50) และ KBANK(FV@B233) จากความสามารถในการเติบโตของสินเชื่อที่ดีสอดคล้องกับภาพรวมการเติบโตของอุตสาหกรรม อีกทั้งราคาหุ้นยังมี upside นอกจากนี้ ยังแนะนำ TCAP (FV@B53) เนื่องจากมีเงินปันผลตอบแทนที่น่าจูงใจ


บันทึกโดย : วันที่ : 27 ก.ย. 2560 เวลา : 13:09:18

20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 8:28 pm