ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน ทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานกลับในช่วงอ่อนตัว (28/02/61)


 กลยุทธ์วันนี้ >> ทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานกลับในช่วงอ่อนตัว

  ตลาดหุ้นวานนี้ : SET ปรับตัวในแดนบวกโดยระหว่างวันสามารถปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่บริเวณ 1,850 จุดได้ตามคาดนำโดยหุ้นขนาดใหญ่หลายกลุ่ม อย่างไรก็ตามดัชนีเผชิญกับแรงขายค่อนข้างหนักและส่งผลให้ย้อนลงมาปิดลบ 3.79 จุด ณ สิ้น สถาบันในประเทศยังเป็นฝ่ายซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 แต่บางตาลงเหลือ 1 พันลบ. (และยังซื้อตราสารหนี้ติดต่อกันเป็นวันที่ 9 อีกกว่า 3 หมื่นลบ.) ขณะที่นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิบางๆ ส่วนฝ่ายขายสุทธิเป็นฝั่งของรายย่อยราว 1.8 พันลบ. 
  แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาดว่า SET จะยังแกว่งตัวอ่อนตัวลงต่อจากบ่ายวานนี้จากบรรยากาศการลงทุนที่เริ่มเป็นลบมากขึ้นหลัง Bond Yield สหรัฐฯที่พุ่งแตะ 2.9% อีกครั้งจากการแถลงของเจอโรม พาวเวลที่ระบุว่ามี่ความเป็นไปได้ที่ FED จะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปีนี้ อย่างไรก็ตามเราไม่ได้กังวลต่อประเด็นดังกล่าวนักเพราะเป็นผลจากเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง เรามองว่าจังหวะอ่อนตัวของตลาดเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นพื้นฐานรอบใหม่หลังจากที่เราแนะนำทำกำไรบางส่วนบริเวณ High เดิมไปแล้ววานนี้
  กลยุทธ์ : ทยอยสะสมหุ้นพื้นฐานกลับในช่วงตลาดอ่อนตัว
  หุ้นเด่นเดือน ก.พ. : AMATA, BBL, BCH, MGT, SAPPE
  Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลออกจากภูมิภาค US$3ล้าน เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกจากไต้หวัน US$78ล้าน ขณะที่ไหลเข้าเกาหลีใต้ US$47ล้าน ส่วนไทยมีเม็ดเงินไหลเข้า US$14ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาคหลังประธาน Fed คนใหม่ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้    

ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> KBANK <<

  • KBANK เป็นหุ้น Top pick ของเราในกลุ่มธนาคาร กำไรรายไตรมาสในปีนี้น่าจะเห็นการเติบโต Y-Y ตลอดทั้งปีจากการตั้งสำรองลดลง
  • ทำให้กำไรปี 2018 โตสูงถึง 19% Y-Y เป็น 4.08 หมื่นลบ. และมี upside เมื่อดอกเบี้ยเข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น
  • NVDR วานนี้มียอดซื้อสุทธิ 178 ลบ. มากสุดในรอบ 20 วัน เป็นจิตวิทยาเชิงบวกต่อราคาหุ้น ไม่เกี่ยวกับการที่ธปท.ให้ NVDR ถือครองได้ไม่เกิน 35% เพราะเป็นเพียงการต่ออายุหลังครบกำหนด 2 ปี เรายังคงแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 264 บาท     

ประเด็นสำคัญวันนี้
  (+) Moody’s มีมุมมองดีขึ้นต่อเศรษฐกิจโลก ปรับประมาณการ GDP สหรัฐปี 2018 ขึ้นเป็น 2.7% จากเดิม 2.3% และปี 2019 ขึ้นเป็น 2.3% จาก 2.1% และปรับ GDP ของประเทศในกลุ่ม G20 ขึ้นเป็น 3.4% จาก 3.2% ระบุว่าแรงขายของตลาดทุนในช่วงที่ผ่านมาไม่กระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
  (+) BJC กำไรปกติ 4Q17 ดีกว่าคาด +26% Q-Q, +79% Y-Y และทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 1,731 ลบ. เรายังคาดกำไรสุทธิปี 2018 ไว้ที่ 7,680 ล้านบาท +47% Y-Y กรณีปรับโครงสร้างภาษีไม่ได้ กำไรก็ยังโต 36% Y-Y แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 64 บาท 
  (+) TKN แม้ว่าจะรายงานกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 142 ลบ. -11% Q-Q, -39% Y-Y แต่หากตัดรายการพิเศษ กำไรปกติไม่แย่ 176 ลบ. -3% Q-Q, -25% Y-Y จากการฟื้นตัวทั้งรายได้และอัตรากำไรขั้นต้น เพียงแต่มีค่าการตลาดจากการออกสินค้าใหม่ ทำให้กำไรทั้งปี -22% Y-Y แต่เราคาดกำไรจะกลับมาเติบโตอีกครั้งในปีนี้ คาด +52% Y-Y เป็น 925 ลบ.จากการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศและการเติบโตของตลาดส่งออกและต้นทุนสาหร่ายที่น่าจะปรับลง คงราคาเป้าหมาย 24 บาท แนะนำซื้อ  
  (+) RS เราปรับประมาณการกำไรปี 2018-19 ขึ้น 26-28% เป็น +161% Y-Y และ +51% Y-Y ตามลำดับ โดยรวมยอดขายสินค้ากลุ่มใหม่ Home lifestyle เพิ่มเข้าไปตั้งแต่ 2Q18 ในขณะที่สินค้าเดิม H&B ยังขยายตัวได้ดี ชดเชยรายได้ของทีวีดิจิตอลช่อง 8 ที่โตช้าได้ เราปรับราคาเป้าหมายขึ้นเป็น 35 บาทจาก 28 บาท คงคำแนะนำซื้อเก็งกำไร สำหรับการขายหุ้นที่ซื้อคืน 43.27 ล้านหุ้น (ต้นทุนเฉลี่ย 10.75 บาท/หุ้น) มีระยะเวลาตั้งแต่ 8 มี.ค. 2018 – 30 พ.ค. 2019 หากขายไม่หมด จะตัดหุ้นที่ซื้อคืนออก
  (+) BEM กำไรสุทธิ 4Q17 โตเด่น +28% Q-Q แต่หดตัว 19% Y-Y จากฤดูกาล เป็น 758 ลบ. โมเมนตัมกำไรยังเป็นบวกต่อเนื่องในปี 2018 คาด +18% Y-Y เป็น 3.7 พันลบ.จากการเพิ่มของรายได้ทั้ง 3 ธุรกิจโดยเฉพาะรถไฟฟ้า คงคำแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 10 บาท
  (+) SC เราเริ่มต้น Coverage ด้วยคำแนะนำซื้อ ประเมินราคาเป้าหมาย 4.80 บาท (PE 10 เท่า) จากกำไรที่เริ่มเป็นขาขึ้น เราคาดกำไรปีนี้ +58% Y-Y กลับมาเป็น 1.98 พันลบ.ใกล้เคียงกับปี 2016 และ +10% Y-Y ปีหน้า ปัจจุบันมี Backlog 9.7 พันลบ. คาดเริ่มโอนคอนโด Super Luxury 2 แห่งกว่า 8.7 พันลบ.ใน 2Q-3Q18 และคาดโอนโครงการแนวราบได้อีกไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นลบ. การปรับกลยุทธ์ไปจับตลาด Mid-to-Low และต่างจังหวัดมากขึ้นทำให้พอร์ตของ SC ยืดหยุ่นมากขึ้น รองรับการเติบโตในอนาคตได้ดีกว่าเดิม  
                
ปัจจัยที่ต้องติดตาม

28 ก.พ.

ไทย: ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน ม.ค.

สหรัฐฯ: 4Q17 GDP (ครั้งที่ 2)??

ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)

จีน: PMI ภาคการผลิต (ก.พ.)

มี.ค.

จีน: Caixin China PMI ภาคการผลิต (ก.พ.)

สหรัฐฯ: ISM ภาคการผลิต (ก.พ.), ดัชนีเงินเฟ้อ PCE (ม.ค.)

มี.ค.

ไทย: อัตราเงินเฟ้อ (ก.พ.)

มี.ค.

จีน: Caixin China PMI Composite (ก.พ.)

ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ก.พ.)

มี.ค.

ยูโรโซน: 4Q17 GDP

  • (-) ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลดลงทั้งสามตลาด หลังจากประธานเฟดคนใหม่ให้ความเห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งอาจทำให้มีการปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น 4 ครั้งในปีนี้ (มากกว่าที่ตลาดคาดไว้ก่อนหน้า)
  • (-) ตลาดหุ้นยุโรปส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงหลังจากแถลงการณ์ของประธานเฟด ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลยุโรปและสหรัฐปรับตัวขึ้น
  • (-) ตลาดเอเชียปรับตัวลง นำโดยดัชนี Hang Seng (Future) ที่ปรับตัวลดลงประมาณ 1.5% ในขณะที่ตลาดญี่ปุ่นปรับตัวลงประมาณ 0.5%
  • () แถลงการณ์ของเฟดที่มีแนวโน้มไปในทางบวกทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ล่าสุดค่าเงินเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.40 – 31.50 บาท/ดอลลาร์
  • (-) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 0.90 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 63.01 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังตลาดกลับมาคาดการณ์ว่าสต็อคน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐอาจเพิ่มสูงขึ้น
  • ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย. ลดลง 14.20 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,318.60 ดอลลาร์/ออนซ์ จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นหลังการให้ความเห็นครั้งแรกของประธานเฟดคนใหม่

บันทึกโดย : วันที่ : 28 ก.พ. 2561 เวลา : 09:27:31

26-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 26, 2024, 3:03 am