ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน ยังมีโอกาสปรับลง (19/06/61)


 ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้

  (-) ตลาดต่างประเทศ DJIA -103.01, NASDAQ +0.65, S&P -5.91, FTSE -2.58, CAC -51.40 และ DAX -176.44
ภายใต้ปัจจัยกดดันจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน หลังสหรัฐฯ ประกาศบัญชีรายการสินค้านำเข้าจากจีน จำนวน 1,100 รายการ ที่จะต้องถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า 25% คิดเป็นมูลค่ารวม 5 หมื่นล้านUSD พร้อมการตอบโต้จากจีนทันที ด้วยการออกมาตรการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ จำนวน 659 รายการ อัตรา 25% คิดเป็นมูลค่ารวม 5 หมื่นล้านUSD เช่นกัน
ทำให้เกิดความกังวลว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทข้ามชาติในภาคอุตสาหกรรม ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับลดลง เช่น โบอิ้ง และแคทเธอร์พิลลาร์ รวมถึง เอเมอร์สัน อิเล็กทริก และอีตัน คอร์ป เป็นต้น
  ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้าน – มิ.ย. อยู่ที่ระดับ 68 ลดลง 2 จุด จากพ.ค. แต่เพิ่มขึ้น 2 จุด จากมิ.ย.’60
  ทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจัยกดดันเพิ่มจากสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองในเยอรมนี หลังมีรายงานว่า นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ได้หารือร่วมกับชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ในประเด็นการรับผู้อพยพเข้าประเทศ ก่อนที่การประชุมผู้นำ EU จะเริ่มขึ้นในวันที่ 28 - 29 มิ.ย. นี้ 
  ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ก.ค. +US$0.79 อยู่ที่ US$65.85 ต่อบาร์เรล ส่วนหนึ่งจากการเข้าเก็งกำไร ขณะที่อยู่ระหว่างติดตามการประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) และประเทศผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก ในวันที่ 22/6/61 ที่คาดอาจพิจารณาตัดสินใจเพิ่มกำลังการผลิต โดยคาดซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นสมาชิกรายใหญ่ของกลุ่มโอเปก อาจจะพิจารณาปรับเพิ่มกำลังการผลิต 500,000 บาร์เรล สู่ระดับ 1 ล้านบาร์เรล/วัน และคาดรัสเซียอาจพิจารณาเพิ่มการผลิตสูงถึง 1.5 ล้านบาร์เรล/วัน
  จากมติเมื่อปีที่ผ่านมา ขยายเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1.8 ล้านบาร์เรล/วันถึงสิ้นปีนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน
  ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ส.ค. +US$1.6 อยู่ที่ US$1,280.1 ต่อออนซ์ จากการเข้าซื้อสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลัง DJIA ปรับลดลง อย่างไรก็ตามเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่า ทำให้การปรับขึ้นเป็นไปอย่างจำกัด
  (-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -2,807 ล้านบาท ยอดสะสม -165,620 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาท และปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 19 - 22 มิ.ย. 61
19/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนพ.ค.
  

20/6/61 ไทย : ประชุม กนง. (คาดคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50%)
 สหรัฐฯ เปิดเผย 
  (1) ดุลบัญชีเดินสะพัด – 1Q/61
  (2)  ยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ค.
  (3) สต็อกน้ำมัน

21/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
  (2) ดัชนีการผลิตเดือนมิ.ย.
  (3) ดัชนีราคาบ้านเดือนเม.ย.

22/6/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
  (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นต้นเดือนมิ.ย.
  (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้นเดือนมิ.ย.

ทิศทางตลาด
  ยังมีโอกาสปรับลง? คาดยังมีโอกาสลงตามตลาดต่างประเทศ แต่อยู่ในกรอบจำกัด ภายใต้ความกังวลต่อประเด็นการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศจีน ที่คาด Sentiment เป็นลบ และมีน้ำหนักกดดันเพิ่มขึ้น ล่าสุดสหรัฐฯ อาจจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจีนรอบใหม่ในอัตรา 10% วงเงิน 2 แสนล้านUSD หลังประกาศรายชื่อสินค้าจีนที่จะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้า 25% วงเงินรวม 5 หมื่นล้านดอลลาร์ และได้รับการตอบโต้ทันทีจากประเทศจีนในการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ อัตรา 25% เช่นกัน
และคาดยังได้รับ Sentiment ลบจาก Fund Flow ที่ไหลออกต่อเนื่องจาก Emerging Market รวมถึงไทย หลังเฟดส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในเดือน ก.ย. และ ธ.ค. ทำให้คาดทั้งปีนี้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้ง คาดสิ้นปี’61 อยู่ที่ 2.25 – 2.50% ยังแนะจับตา Bond Yield สหรัฐฯ มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามทิศทางเดียวกับดอกเบี้ย คาดกลับเป็นประเด็นกดดันต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง นอกจากนี้คาดทำให้เงินสหรัฐฯ มีแนวโน้มแข็งค่า ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ซื้อขายในรูปเงินสหรัฐฯ ปรับลดลง แต่ในทางกลับกันกลุ่มส่งออกคาดได้รับประโยชน์จากเงินบาทที่อ่อนค่าลง 
  ทางด้านราคาน้ำมันกลับมีความผันผวน แนะติดตามการประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (22/6/61) ภายใต้ความไม่แน่นอนว่าจะมีการปรับเพิ่มปริมาณผลิตน้ำมัน เพื่อชดเชยการส่งออกจากอิหร่านและเวเนซูเอล่า หลังถูกมาตรการคว่ำบาตร
  ส่วนประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับ Sentiment ลบ จาก Fund Flow ภายใต้แรงขายสุทธิของต่างชาติ ส่งผลให้ YTD ยอดขายสุทธิสะสม เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มูลค่าสูงกว่า 165,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหากมีการกำหนด
  วันเลือกตั้งชัดเจน (คาดภายในก.พ.’62) คาดช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นการลงทุนกลับมา โดยเฉพาะจากต่างชาติกลับเข้ามาอีกครั้ง แนะติดตาม
 (1)  การประชุม กนง. (20/6/61) คาดยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% และ (2) Window Dressing – 2Q/61 ช่วงปลายเดือน
ขณะที่ในระยะกลาง – ยาว ยังได้รับ Sentiment บวกจากโครงการ EEC คาดส่งผลดีต่อกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน ล่าสุดเปิดขายซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ช่วงวันที่ 18/6/61 – 9/7/61 มูลค่าเงินลงทุน ประมาณ 2.2 แสนล้านบาท โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ net cost  อายุโครงการ 50 ปี และกำหนดยื่นซองประมูล 12/11/61 พร้อมคาดลงนามสัญญาต้นปี’62

และยังแนะจับตา
  (1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVL และ PTTGC เป็นต้น
  (2) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP, BANPU และ SPRC เป็นต้น
  (3) กลุ่มท่องเที่ยว ได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง เช่น CENTEL, ERW เป็นต้น
  (4) กลุ่มขนส่ง ยังได้รับผลดีจากการท่องเที่ยว เช่น AOT และ PSL จากค่าระวางเรือ และ BTS จากรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย
  (5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน
  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี ทรงตัว อยู่ที่ 2.93% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
  ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.33 อยู่ที่ 12.31

หุ้นแนะนำ : TMT


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 19 มิ.ย. 2561 เวลา : 09:35:12

23-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 23, 2024, 7:05 pm