ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน SET Index ยังคงปรับตัวขึ้นแข็งแกร่ง (31/07/61)


 กลยุทธ์วันนี้ >> Earnings Play//Short-term Sell into Strength

  ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ยังคงปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งกว่าที่เราคาดโดยยังมีแรงซื้อเข้ามาหนุนโดยเฉพาะในกลุ่มพลังงานและธนาคาร และทำให้ดัชนีปิดบวกถึงเกือบ 12 จุดและยืนเหนือระดับ 1,700 จุดได้อีกครั้ง สถาบันในประเทศยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 1.5 พันลบ. ขณะที่นักลงทุนต่างชาติพลิกมาซื้อสุทธิหนาแน่น 2.3 พันลบ. (และ Net Long ใน Index Futures อีก 1.9 พันสัญญา)
  แนวโน้มตลาดวันนี้ : SET Index มีแนวโน้มแกว่งตัว Sideways Down พักฐานจากบรรยากาศการลงทุนที่เป็นลบหลังตลาดหุ้นสหรัฐฯปรับตัวลงฉุดโดยกลุ่มเทคโนโลยี ประกอบกับ SET Index ปรับตัวตัวขึ้นต่อเนื่องกว่า 100 จุด +6.7% MTD ทำให้คาดว่าน่าจะมีแรงขายทำกำไรระยะสั้นออกมาบ้าง ขณะที่ปัจจัยที่ต้องติดตามสัปดาห์นี้ยังมีทั้งการประชุม FED และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน 2Q18 ที่จะประกาศออกมาหนาแน่นมากขึ้น เราจึงยังเน้นเก็งกำไร/ลงทุนในหุ้นที่คาดว่าจะมีผลประกอบการโดดเด่น และแบ่งขายทำกำไรลดพอร์ดระยะสั้นบางส่วนในจังหวะที่ตลาดดีดขึ้น 
  กลยุทธ์ : เก็งกำไรหุ้นที่คาดผลประกอบการ 2Q18 แข็งแกร่ง //แบ่งขายทำกำไรระยะสั้นบางส่วนช่วงตลาดดีดขึ้น
  หุ้นเด่นเดือนก.ค. : BANPU, CPF, EPG, PTTEP, TISCO

  Fund Flow --

ชวนเม้าท์หุ้นเด่น >> AH <<
  แนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 47 บาท
  คาดกำไรสุทธิ 2Q18 ยังโตได้ 4% Y-Y อยู่ที่ 329 ลบ. แม้ 2Q17 มีกำไรพิเศษจากการขายเงินลงทุน 147 ลบ. ส่วนกำไรปกติจะโตแรงถึง 113% Y-Y จากยอดผลิตรถยนต์ในประเทศที่โตดีต่อเนื่อง และยังได้ดอกเบี้ยรับรวมถึงส่วนแบ่งกำไรจาก SGAH ไตรมาสละไม่น้อยกว่า 80 ลบ.
  กำไรทั้งปีคาด +23% Y-Y อยู่ที่ 1.4 พันลบ. ราคาปัจจุบันซื้อขายบน PE2018-19 เพียง 7-8 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลังที่ 11 เท่า และให้ปันผลน่าพอใจ 4-5% ต่อปี

ประเด็นสำคัญวันนี้
  (-) อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับตัวขึ้น ก่อนการประชุม FOMC วันที่ 31 ก.ค. – 1 ส.ค. โดยตลาดคาดว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายเท่าเดิมที่ 1.75-2% และจะไปขึ้นอีก 2 ครั้งใน ก.ย. และ ธ.ค. ตลาดกำลังรอดูท่าทีของเฟดว่าจะสอดรับกับความเห็นของประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ต้องการให้เลื่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ยออกไปหรือไม่ ล่าสุด Dollar Index พักตัวลงเล็กน้อย แต่ยัง Sideway ในกรอบ 94-95 จุด   
  (+) GDP 2Q18 สหรัฐฯแข็งแกร่ง โดยเพิ่มขึ้นถึง 4.1% Q-Q ดีสุดในรอบ 4 ปี มากกว่า 1Q18 ที่เพิ่มขึ้น 2.2% Q-Q แรงหนุนมาจากการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัว ภาคธุรกิจที่แข็งแกร่งขึ้นจากมาตรการลดภาษี และการส่งออกสินค้าเกษตรที่เร่งตัวขึ้นก่อนที่มาตรการกำแพงภาษีกับจีนจะมีผลบังคับใช้ ประธานาธิบดีสหรัฐฯยังตั้งเป้าการเติบโตระยะยาวไว้ไตรมาสละ 3% และคาดว่าระยะสั้นจะได้เห็นตัวเลข 8-9% ซึ่งถ้าเป็นจริงดอลล่าร์ฯจะยิ่งแข็งและบาทจะยิ่งอ่อน กระแสเงินอาจกลับมาไหลออกอีกครั้ง แต่ทั้งเราและตลาดยังมองว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก
  (0) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความกังวลในการประกาศระงับการส่งออกน้ำมันผ่านช่องแคบบาบ อัล-มานเดบในทะเลแดง อย่างไรก็ตาม เราคาด Upside ของราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นค่อนข้างจำกัด และ WTI น่าจะแกว่งในรอบ 65-70 ดอลล่าร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เพื่อรอดูทั้งการประชุม FOMC และ BOJ รวมถึงการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯ ที่จะกระทบการเคลื่อนไหวของดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยตรง
  (+) PTTEP กำไรจากการดำเนินงานปกติก่อนภาษีใกล้เคียงกับที่เราและตลาดคาด +10% Q-Q, +66% Y-Y เป็น 15,013 ลบ. จากทั้งปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น แนวโน้มผลการดำเนินงานปกติ 2H18 จะดีกว่า 1H18 เพราะได้แรงหนุนจากราคาขายเฉลี่ยที่จะปรับขึ้นตามราคาก๊าซ และปริมาณขายที่จะเพิ่มขึ้นอีกราว 30,000 BOEPD หลังจากรับรู้ส่วนเพิ่มจากแหล่งบงกช อีก 22.22% เรายังคงราคาเป้าหมาย 130 บาท (หากชนะประมูลปิโตรเลียมจะเพิ่มมูลค่าอีก 25-30 บาท) แนะนำซื้ออ่อนตัว
  (0) BGRIM คาดกำไรปกติ 2Q18 ที่ 533 ลบ. +4.2% Q-Q, +17.8% Y-Y จากโรงไฟฟ้าใหม่ผลิตเต็มไตรมาสและมีรายได้กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรมเพิ่ม แต่กำไรสุทธิจะลดลง 58% Q-Q, 27.9% Y-Y จากผลขาดทุนของอัตราแลกเปลี่ยน แนวโน้มครึ่งปีหลังกำไรปกติเพิ่มต่อ และคงคาดทั้งปีโตสูง 39.6% Y-Y อยู่ที่ 2.4 พันลบ. ราคาหุ้นที่ปรับตัวลง 16% จากสูงสุดในช่วง 2 เดือน น่าจะสะท้อนความกังวลประเด็นย้ายพื้นที่โรงไฟฟ้าใหม่ และประเด็นต่ออายุสัญญา 3 โรงไฟฟ้า SPP ไปแล้ว ขณะที่บริษัทมีแผนเพิ่มกำลังผลิตในต่างประเทศอีกมาก โดยล่าสุดเข้าลงทุน 55% ในโครงการโซลาร์ฟาร์มที่เวียดนาม 420 MW เราจึงคงแนะนำซื้อ ราคาเป้าหมาย 32 บาท  
  (-) PSL กำไรสุทธิ 2Q18 อยู่ที่ 92 ลบ. -15% Q-Q แต่พลิกจากขาดทุน 5 ลบ. ใน 2Q17 ตามค่าระวางเรือที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 50% Y-Y อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิที่ทำได้ต่ำกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ราว 160-190 ลบ. ค่อนข้างมาก จากผลของเงินบาทที่อ่อนค่า แม้แนวโน้ม 2H18 ควรจะสดใสกว่า 1H18 เพราะดัชนีค่าระวางเรือยังขึ้นต่อเนื่อง +23% YTD แต่เรามองว่ามีโอกาสถูกกระทบจากมาตรการกีดกันการค้าของสหรัฐฯ ขณะที่ ราคาหุ้นเหลือ Upside ไม่มากเมื่อเทียบกับ IAA Consensus ที่ 13.60 บาท จึงยังไม่แนะนำให้ลงทุนในช่วงนี้

ปัจจัยที่ต้องติดตาม

31 ..

จีน: PMI ภาคการผลิต (..)

สหรัฐฯ: Core PCE Price Index (มิ..)

ยูโรโซน: 2Q18 GDP ตลาดคาด +2.5% Y-Y

..

สหรัฐฯประชุม FOMC ตลาดคาดคงดอกเบี้ย 2%

ยูโรโซน: PMI ภาคการผลิต (..)

..

สหรัฐฯตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร (..)


  (-) ตลาดสหรัฐปรับตัวลงจากความผิดหวังในผลประกอบการของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี เช่น Facebook และ Twitter 
  (-) ตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงจากความกังวลในผลประกอบของบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ตลาดยังคงชะลอการซื้อขายเพื่อรอผลประชุมธนาคารกลางต่างๆในสัปดาห์นี้
  (-) ตลาดเอเชียเช้านี้ปรับตัวลง หลังตัวเลขคาดการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งของจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่อาจจะชะลอตัวลง 
  (-) ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกลับแข็งค่าขึ้นมาเมื่อเทียบกับเงินบาท ล่าสุดอยู่ที่บริเวณ 33.30-33.40 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

  (+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้น 1.44 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 70.13 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังตลาดกลับมากังวลเรื่องการคว่ำบาตรอิหร่านซึ่งอาจนำไปสู่การปิดช่องแคบ Hormuz ซึ่งเป็นช่องแคบสำคัญที่มีน้ำมันดิบผ่านเข้า-ออกกว่า 30% ของทั้งโลก
  (-) ค่าการกลั่นสิงคโปร์ ปรับตัวลง 0.08 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 6.73 ดอลลาร์/บาร์เรล 
  () ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ส.ค. ลดลง 1.20 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 1231.50 ดอลลาร์/ออนซ์


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 31 ก.ค. 2561 เวลา : 09:45:43

20-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 20, 2024, 1:44 pm