ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน ตามต่างประเทศ คาดมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น (28/09/61)


 ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้

(+)ตลาดต่างประเทศ DJIA +54.65, NASDAQ +51.60, S&P +8.03, FTSE +33.95, CAC +27.68 และ DAX +49.70
          หลังตลาดฯ สะท้อนผลการประชุมเฟดที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 2.00-2.25% ตามคาดการณ์ไว้ พร้อมส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนธ.ค.ปีนี้ และได้รับปัจจัยหนุนจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (1) ตัวเลข GDP - 2Q/61 ขยายตัว 4.2% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี หลัง 1Q/61 ขยายตัวเพียง 2.2% และ (2) ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน - ส.ค. เพิ่มขึ้น 4.5% ซึ่งปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งสุดในรอบ 6 เดือน หลังได้รับปัจจัยหนุนจากคำสั่งซื้อเครื่องบินพาณิชย์
          ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน ล่าสุด เพิ่มขึ้น 12,000 ราย อยู่ที่ 214,000 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับแต่ช่วงต้นเดือนส.ค. หลังได้รับผลกระทบของพายุเฮอร์ริเคนฟลอเรนซ์

          ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน พ.ย. +US$0.55 อยู่ที่ US$72.12 ต่อบาร์เรล ภายใต้คาดการณ์ว่า มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านจะส่งผลให้ปริมาณน้ำมันในตลาดโลกลดลง โดยปัจจุบันการส่งออกน้ำมันของอิหร่านได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ซื้อน้ำมันลดคำสั่งซื้อ หลังสหรัฐฯ เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ระงับการซื้อน้ำมันดิบจากอิหร่าน โดยสิ้นเชิงภายในวันที่ 4 พ.ย. มิฉะนั้นจะถูกสหรัฐฯ ทำการคว่ำบาตร
          ซึ่งเกาหลีใต้ไม่ได้นำเข้าน้ำมันจากอิหร่านเป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกันแล้ว ขณะที่อินเดียวางแผนระงับการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านในเดือนพ.ย.

          ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. -US$11.7 อยู่ที่ US$1,187.4 ต่อออนซ์ ภายใต้ปัจจัยกดดันจากเงินสหรัฐฯ ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังเฟด ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมครั้งล่าสุด นอกจากนี้ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งยังทำให้นักลงทุนขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

          (-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -1,737 ล้านบาท ยอดสะสม -210,094 ล้านบาท (ปี'57 และ 58ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาทและ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี'59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาทและปี'60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

ประเด็นที่ต้องติดตาม 28 ก.ย. - 2 ต.ค.'61
28/9/61 สหรัฐฯ เปิดเผย 
          (1) ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) - ส.ค.
          (2) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย.
1/10/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
          (1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.ย.
          (2) ดัชนีภาคการผลิตเดือนก.ย. 
          (3) การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนส.ค.
2/10/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
          (1) ดัชนีภาวะธุรกิจนิวยอร์กเดือนก.ย.
          (2) ยอดขายรถยนต์เดือนก.ย.

ทิศทางตลาด
          ตามต่างประเทศ ? คาดมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นตามตลาดต่างประเทศ แม้ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ หลังตลาดต่างประเทศส่วนใหญ่สะท้อนผลการประชุมเฟดที่ออกมาตามความคาดหมายทั้งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ และอีก 1 ครั้งในเดือนธ.ค. พร้อมกับการปรับขึ้นอีก 3 ครั้งในปี'62 ขณะที่ (+) จากเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่มีความแข็งแกร่ง ล่าสุดตัวเลข GDP - 2Q/61 ขยายตัว 4.2% สูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี สอดคล้องกับมุมมองของเฟด ที่มีการปรับเพิ่มเป้าหมาย GDP ปี'61 - 62 ขึ้นจาก 2.8% และ 2.4% เป็น 3.1% และ 2.5% ตามลำดับ 
          อย่างไรก็ตามยังแนะติดตามประเด็นที่อาจสร้างความผันผวนให้กับภาพรวมตลาด (1) ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 3.06% ลดลงจาก 3.10% (25/9/61) ซึ่งเป็น New High ในรอบ 5 ปี และ (2) สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนในการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน วงเงินอีกประมาณ 267,000 ล้านUSD หลังสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้า อัตรา 10% วงเงิน 200,000 ล้านUSD เมื่อ 24/9/61 และเพิ่มเป็น 25%
          ต้นปี'62 ขณะที่จีนตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ อัตรา 10% วงเงิน 60,000 ล้านUSD ในวันเดียวกัน
          ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดยังได้รับปัจจัยบวกจากการทำ Window Dressing - 3Q/61 ช่วงท้ายสัปดาห์ ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงการประกาศงบ - 3Q/61 ตั้งแต่ช่วงกลางต.ค. - กลางพ.ย ที่คาดมีแรงเก็งกำไร (+/-) ต่อผลประกอบการ
          ขณะที่คาดหุ้นกลุ่มพลังงาน ยังได้รับปัจจัยหนุนจากระดับราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูง เฉลี่ยทั้ง 3 ตลาด (WTI, Brent และ Dubai) ยังอยู่ในระดับสูง ที่ 72 - 82 USD/barrel คาดยังเป็นบวกต่อ PTT และ PTTEP ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรรอบ 2 ในเดือน พ.ย. ของสหรัฐฯ ต่อการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน คาดทำให้การผลิตน้ำมันของอิหร่านลดลง มากกว่า 1.0 ล้านบาร์เรล ในไตรมาส 4 นี้
          ส่วนในระยะกลาง - ยาว คาด Sentiment ยังเป็นบวก จาก  (1) แนวโน้มเศรษฐกิจ หลัง GDP - 2Q/61 อยู่ที่ 4.6% ดีกว่าคาด ขณะที่เป้าหมายทั้ง
          ปี'61 อยู่ในระดับ 4.4 - 4.5% และ (2) ประเด็นทางการเมืองหลังโปรดเกล้า กม.ลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง สส. และการได้มาซึ่ง สว. พร้อมการปลดล๊อคพรรคการเมือง คาดการเลือกตั้งเกิดขึ้นเร็วสุดวันที่ 24/2/62 และคาดไม่เกิน พ.ค.'62 ซึ่งยังเป็นไปตาม Road Map เดิม

และยังแนะจับตา
          (1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVLเป็นต้น
          (2) กลุ่มธนาคาร จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจไทย เช่น BBL, KTB
          (3) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP และค่าการกลั่นฟื้นตัว เช่น TOP, SPRC
          (4) กลุ่มขนส่ง ค่าระวางเรือในระดับสูง ส่งผลดีต่อ PSL
          (5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี -0.01 อยู่ที่ 3.06% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.'54)

ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.48 อยู่ที่ 12.41

หุ้นแนะนำ : KTB

หุ้นแนะนำ

KTB : ยังมี Upside จากการประมูลขายที่ดิน AQ หากสำเร็จคาดกำไรพิเศษ ประมาณ 8,500 ล้านบาท

  • ภายใต้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่กลับสู่ขาขึ้น คาดธนาคารที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ KTB และ BBL จากสัดส่วนสินเชื่อของทั้ง 2 ธนาคาร อิงอัตราดอกเบี้ยลอยตัว สูงถึง 88% และ 85% ของสินเชื่อรวม ตามลำดับ  
  • แม้คาดสินเชื่อในปี'61 ของ KTB จะไม่โดดเด่น ส่วนหนึ่งจากการปรับลดสินเชื่อที่มีความเสี่ยง เช่น สินเชื่อโรงสี และสินเชื่อสหกรณ์ เป็นต้น แต่ผลจากการตั้งสำรองหนี้ที่คาดลดลง จาก 44,000 ล้านบาท เมื่อปี'60 เป็น 32,000 ล้านบาท (Conservative เมื่อเทียบเป้าหมายของ KTB ที่ตั้งสำรองไม่เกิน 30,000 ล้านบาท) ทำให้คาดกำไรสุทธิปี'61 อยู่ที่ 31,100 ล้านบาท เติบโต 39%
  • คาด KTB ยังมี Upside หากประมูลขายที่ดิน AQ สำเร็จ หลังกรมบังคับคดีประกาศวันขายทอดตลาดที่ดินกว่า 4,300 ไร่ วันที่ 17/10/61 เป็นนัดแรก พร้อมคาดขั้นตอนประมูลไม่ยืดเยื้อ ภายใต้ พรบ.วิธีพิจารณาความแพ่ง ฉ.30 บังคับใช้ปีที่ผ่านมา คาดช่วยให้กระบวนการขายทอดตลาดเร็วขึ้น (เดิมกฎหมายเปิดช่องให้มีการคัดค้านผลประมูลหลังเคาะราคาแล้ว) ขณะที่คาด KTB มีกำไรพิเศษ ประมาณ 8,500 ล้านบาท (EPS ประมาณ 0.60 บาท) คาดเพิ่ม Target Price อีก 0.40 บาท อย่างไรก็ตามยังไม่ได้รวมในประมาณการ
  • ปรับราคาเป้าหมายเป็นปี'62 ที่ 23.30 บาท อิงวิธี GGM ที่ PBV 1X และภายใต้ความโดดเด่นของผลประกอบการ รวมถึงอัตราเงินปันผลที่น่าสนใจ (ประมาณ 4.47%) แนะนำ "ซื้อ"

LastUpdate 28/09/2561 09:46:37 โดย : Admin

19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 6:21 am