ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
บล.ไอร่า รายงานภาวะตลาดหุ้นวันนี้ (24/10/61) ชี้ทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้มีโอกาสลดลงตามหุ้นโลก


ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้

(-) ตลาดต่างประเทศ DJIA -125.98, NASDAQ -31.09, S&P -15.19, FTSE -87.59, CAC -85.62 และ DAX -250.06
  ภายใต้ปัจจัยลบ (1) ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน รวมถึงบริษัท แคทเธอร์พิลลาร์ และ 3M หลังมีการปรับลดประมาณการทัง้ ปี’61 ต่ำกว่าความคาดหมายของตลาด (2) ราคาน้ำมันดิบปรับลดลง ส่งผลต่อราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน (3) แนวโน้มเศรษฐกิจจีน หลังตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดชะลอตัวลง และส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนปรับลดลงเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และ (4) คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU) ปฏิเสธร่างงบประมาณประจำปี’62 ของอิตาลี โดยอิตาลี มีเวลา 3 สัปดาห์ ในการยื่นข้อเสนองบประมาณฉบับใหม่ และเป็นครั้งแรกที่ EC ปฏิเสธการยอมรับร่างงบประมาณของประเทศสมาชิก EU ซึ่งรัฐบาลอิตาลีได้เพิ่มตัวเลขขาดดุลงบประมาณสู่ระดับ 2.4% ของ GDP ในปี’62 ขณะที่รัฐบาลชุดเดิมของอิตาลี ยืนยันจะรักษาตัวเลขขาดดุลที่ 0.8% ของ GDP ขณะที่ EU มองว่าร่างงบประมาณปี’ 62 ของอิตาลีขัดต่อกฎหมายทางการเงินของ EU

ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. -US$2.93 อยู่ที่ US$66.43 ต่อบาร์เรล หลังซาอุดีอาระเบียยืนยันว่าจะรักษาเสถียรภาพตลาดน้ำมัน ซึ่งรวมถึงการเพิ่มการผลิต นอกจากนี้ตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับลดลง ยังกดดันต่อภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันเช่นกัน

ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. +US$12.2 อยู่ที่ US$1,236.8 ต่อออนซ์ จากการเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังตลาดหุ้นทั่วโลกปรับลดลงแรง และยังได้รับปจั จัยหนุนจากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่าช่วยเพิ่มความน่าสนใจเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ

(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -62 ล้านบาท ยอดสะสม -258,598 ล้านบาท (ปี’57 และ 58ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ปี’59 ซื้อสุทธิสะสม 77,927 ล้านบาทและปี’60 ขายสุทธิสะสม 25,755 ล้านบาท)

(-) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ตัวเลขส่งออก - ก.ย. ลดลง 5.2% (ในรูปเงินสหรัฐฯ) สวนทางกับที่คาดว่าจะขยายตัว 5.4 – 5.6% และเป็นครั้งแรกที่ลดลงในรอบ 19 เดือน หลังได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงเศรษฐกิจและค่าเงินของตลาดเกิดใหม่
ขณะที่ 9M/61 ยังขยายตัว 8.13% พร้อมยังคงเป้าหมายทั้งปี’61 ไว้ที่ 8.0% และคาดขยายตัว 9.0% ในปี’62

ประเด็นที่ต้องติดตาม 24 - 26 ต.ค.’61
24/10/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ดัชนีราคาบ้านเดือนส.ค
(2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขัน้ ต้นเดือนต.ค.
(3) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขัน้ ต้นเดือนต.ค.
(4) ยอดขายบ้านใหม่เดือนก.ย.
(5) สต็อกน้ำมัน
(6) รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากเฟด
25/10/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
(2) ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ย.
(3) ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนก.ย.
26/10/61 สหรัฐฯ เปิดเผย
(1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3
(2) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนต.ค.

ทิศทางตลาด
  มีโอกาสลดลง? คาดยังมีโอกาสปรับลดลงตามทิศทางเดียวกับต่างประเทศส่วนใหญ่ ทัง้ จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง จากความกังวลปริมาณการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันจะกลับมาเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยปริมาณการผลิตของอิหร่านที่ลดลงจากมาตราการคว่ำบาตรรอบใหม่ ซึ่งคาดกลับมาส่งผลต่อราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน
  นอกจากนี้ยังมีความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังเริ่มได้รับผลกระทบจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และประเทศคู้ค่าต่างๆ รวมถึงจีนขณะที่ยังมีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ จะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนวงเงินเพิ่มอีกประมาณ 267,000 ล้านUSD (หลัง ก.ค. - ก.ย. เรียกเก็บรวม 250,000 ล้านUSD และจีนตอบโต้กลับ จำนวนรวม 110,000 ล้านUSD) คาดในครั้งนี้จีนอาจใช้มาตรการอื่นๆ ตอบโต้สหรัฐฯ กลับ ขณะที่การเจรจาเพื่อลดข้อพิพาทยังไม่มีความคืบหน้า
  รวมถึงการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยเฉพาะความกังวลต่อการเร่งพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่ตลาดคาดหมายไว้ จากตัวเลขเงินเฟ้อ และ Bond Yield ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ยังแนะติดตามค่าเงินบาทที่คาดยังมีความผันผวนตามกลุ่ม Emerging Market ภายใต้ความกังวล (1) ขาดดุลการค้าและบัญชีเดินสะพัด (2) ภาระหนี้ต่างประเทศ และ (3) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ

  ทางด้านประเด็นในประเทศ คาดได้รับปจั จัยกดดันจากตัวเลขส่งออก - ก.ย. ลดลง 5.2% สวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5.4 – 5.6% หลังได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า และความต้องการใน Emerging Market ลดลง อย่างไรก็ตามตลาด CLMV ยังขยายตัวได้ดี 17.5% พร้อมกับตลาด USA +1.2% ขณะที่จีน -14.1%
  พร้อมคาดยังมีแรงเก็งกำไรผลประกอบการ – 3Q/61 ถึงกลางเดือนพ.ย. ส่วน Fund Flow ต่างชาติกลับมาขายสุทธิต่อเนื่อง พร้อมกับ YTD ขายสุทธิสะสม เกือบ 260,000 ล้านบาท หรือประมาณกว่า 7,800 M.USD อย่างไรก็ตามคาดได้รับการชดเชยจากแรงซื้อสุทธิของสถาบันในประเทศ ภายใต้เม็ดเงินจาก LTF ที่คาดทยอยเข้ามาในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปี คาดไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาทพร้อมคาดบางส่วนพักตัวอยู่ในตลาดพันธบัตร ซึ่ง YTD ต่างชาติซื้อสุทธิสะสม ประมาณ 7,600 M.USD

และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่ง เช่น IVLเป็นต้น
(2) กลุ่มธนาคาร จะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจไทย เช่น BBL, KTB
(3) กลุ่มพลังงาน ได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับสูง เช่น PTT, PTTEP และค่าการกลัน่ ฟื้นตัว เช่น TOP
(4) กลุ่มขนส่ง ค่าระวางเรือในระดับสูง ส่งผลดีต่อ PSL
(5) กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง จากโครงการ EEC คาดได้รับประโยชน์จากความเชื่อมัน่ ของนักลงทุนเอกชน และโครงการก่อสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน

ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี -0.03 อยู่ที่ 3.17% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)

ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +1.07 อยู่ที่ 20.71

หุ้นแนะนำ : CK

หุ้นแนะนำ

CK : เข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ของบริษัทร่วมทุน

  • แม้ได้รับผลกระทบจากงานประมูลที่ล่าช้า และทำให้รายได้งานก่อสร้างชะลอตัว เนื่องจากเป็นการรับรู้รายได้จาก Backlog เดิม ที่บางโครงการอยู่ในช่วงเริ่มต้นงานก่อสร้าง ทำให้สัดส่วนรับรู้รายได้ยังไม่มาก แต่ CK ได้รับประโยชน์จากบริษัทที่ร่วมทุน ส่งผลให้กำไรสุทธิยังอยู่ในระดับที่ดี คาดกำไรสุทธิปี’61 อยู่ที่ 1,943 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7%จากปี’60 และคาดเพิ่มขึ้น 4.5% ในปี’62 คาดอยู่ที่ 2,031 ล้านบาท
  • คาด Backlog สิ้นปี’61 ประมาณ 47,400 ล้านบาท ยังเพียงพอต่อการรับรู้รายได้งานก่อสร้างปี’62 ประมาณ 31,448 ล้านบาท +5% จากประมาณการปี’61 ขณะที่คาด CK มีโอกาสได้รับงานใหม่เข้ามาจากโครงการต่างๆ ที่ทยอยเปิดประมูลนับจากปลาย 3Q/61 เป็นต้นไป พร้อมคาดอยู่ในช่วงที่ CK เก็บเกี่ยวผลประโยชน์ต่อเนื่องจากบริษัทร่วมทุน หลังปรับโครงสร้างในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
  • ประเมินราคาเป้าหมายปี’62 ที่ 32.50 บาท อิง PBV ที่ 2.0X (ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา)

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 24 ต.ค. 2561 เวลา : 10:10:45

19-04-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 19, 2024, 2:29 pm