ข่าว เบรกกิ้งนิวส์
ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (14 มี.ค.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ 35.64 บาทต่อดอลลาร์


 

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ (14 มี.ค.67) ที่ระดับ  35.64 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น”
จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  35.73 บาทต่อดอลลาร์

โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นบ้าง (แกว่งตัวในช่วง 35.57-35.74 บาทต่อดอลลาร์) หนุนโดยการย่อตัวลงของเงินดอลลาร์ และการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ ราว +20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรการรีบาวด์ของทองคำเพิ่มเติม และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เงินบาทก็ยังไม่สามารถแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องไปได้มาก เนื่องจากผู้เล่นในตลาดบางส่วน โดยเฉพาะฝั่งผู้เล่นต่างชาติยังคงรอจังหวะเงินบาทแข็งค่าขึ้น ในการเพิ่มสถานะ Short THB (มองเงินบาทอ่อนค่า) นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบกว่า +2% ในคืนที่ผ่านมา ตามยอดสต็อกน้ำมันดิบและยอดสต็อกน้ำมันเบนซินสหรัฐฯ ที่ลดลงมากกว่าคาด ก็อาจมีโฟลว์ธุรกรรมที่เกี่ยวกับน้ำมันดิบเข้ามากดดันเงินบาทได้บ้าง 

บรรดาผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ต่างระมัดระวังตัวมากขึ้น เพื่อรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิค PPI และยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในคืนวันพฤหัสฯ (ตามเวลาประเทศไทย) ทำให้ผู้เล่นในตลาดขายทำกำไรหุ้นกลุ่มเทคฯ ธีม AI ที่ปรับตัวได้ดีในช่วงที่ผ่านมา อาทิ Nvidia -1.1% ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังพอได้แรงหนุนจากการหุ้นกลุ่มพลังงาน นำโดย Exxon Mobil +1.1% ตามการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบ ส่งผลให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.19% 

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวขึ้นราว +0.16% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มค้าปลีกและกลุ่ม Utilities ที่รายงานยอดขายและคาดการณ์ผลประกอบการที่สดใส อาทิ Inditex (เจ้าของแบรนด์ Zara) +7.7% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานเช่นเดียวกับฝั่งสหรัฐฯ นำโดย Shell +1.2% อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรปก็เผชิญแรงกดดันจากการขายทำกำไรหุ้นเทคฯ ใหญ่เช่นกัน โดย ASML -1.5%

ในฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่ามุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยเฟดจะยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปมากนัก หลังรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในวันก่อนหน้า ทว่า การปรับตัวขึ้นต่อเนื่องราว +2% ของราคาน้ำมันดิบ ก็มีส่วนกดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทยอยปรับตัวขึ้น ใกล้ระดับ 4.20% อีกครั้ง  ทั้งนี้ เราคงมองว่า บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงผันผวนสูงขึ้น หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงออกมาสดใสและดีกว่าคาด อย่างไรก็ดี Risk-Reward ของการเข้าซื้อบอนด์ระยะยาวก็ยังคุ้มค่าอยู่ ทำให้เราคงมองว่า นักลงทุนสามารถทยอยเพิ่มสถานะการลงทุนได้ หรือนักลงทุนอาจรอจังหวะ Buy on Dip ก็ได้เช่นกัน (อาจเน้นทยอยเข้าซื้อในโซน บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ เหนือระดับ 4.20%)

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงบ้าง โดยส่วนหนึ่งก็มาจากทยอยแข็งค่าขึ้นของเงินยูโร (EUR) ที่ได้อานิสงส์จากภาพตลาดหุ้นยุโรปที่ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ก็ยังขาดปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน ทำให้ผู้เล่นในตลาดใช้จังหวะการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ในการลดสถานะ Long USD ลงบ้าง โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ย่อตัวลงใกล้ระดับ 102.8 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 102.7-103 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ ภาพตลาดสหรัฐฯ ที่กลับมาอยู่ในภาวะระมัดระวังตัว กอปรกับการย่อตัวลงบ้างของเงินดอลลาร์ ได้หนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) พลิกกลับมารีบาวด์ขึ้น สู่โซน 2,180 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง เปิดโอกาสให้ผู้เล่นบางส่วนทยอยขายทำกำไรทองคำ และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าว ก็มีส่วนช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้าง
 
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่ห้ามพลาดจะอยู่ในฝั่งสหรัฐฯ โดยผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ดัชนีราคาผู้ผลิต PPI และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) ที่จะประกาศในช่วง 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดได้อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ตลาดการเงินอาจผันผวนพอสมควรในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลดังกล่าว

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า เงินบาทอาจแกว่งตัว sideways ในช่วงก่อนตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ โดยเราประเมินว่า เงินบาทอาจยังพอได้แรงหนุนจากโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำอยู่บ้าง รวมถึงการทยอยขายเงินดอลลาร์ของบรรดาผู้ส่งออก หากเงินบาทอ่อนค่าลงใกล้โซนแนวต้าน 35.80 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ต้องระวัง แรงกดดันฝั่งอ่อนค่า จากแรงขายสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในฝั่งหุ้น ที่เรามองว่า นักลงทุนต่างชาติอาจรอจังหวะให้ตลาดหุ้นไทยรีบาวด์ใกล้โซนแนวต้าน ในการทยอยขายทำกำไรได้ ขณะเดียวกัน ผู้เล่นต่างชาติยังคงเดินหน้าเพิ่มสถานะ Short THB (มองเงินบาทอ่อนค่า) หลังเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา (ผู้เล่นต่างชาติส่วนใหญ่ต่างมองว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ไม่ดี และมีโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะลดดอกเบี้ยได้เร็วกว่าเฟด) 

อนึ่ง ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพราะหากยอดค้าปลีก และดัชนี PPI ออกมาดีกว่าคาด ก็อาจยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดกังวลต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (14 มี.ค.67) แข็งค่าขึ้น ที่ระดับ  35.64 บาทต่อดอลลาร์ 

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ (14 มี.ค.67) ที่ระดับ  35.64 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้น”
จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  35.73 บาทต่อดอลลาร์

โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นบ้าง (แกว่งตัวในช่วง 35.57-35.74 บาทต่อดอลลาร์) หนุนโดยการย่อตัวลงของเงินดอลลาร์ และการรีบาวด์ขึ้นของราคาทองคำ ราว +20 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรการรีบาวด์ของทองคำเพิ่มเติม และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เงินบาทก็ยังไม่สามารถแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องไปได้มาก เนื่องจากผู้เล่นในตลาดบางส่วน โดยเฉพาะฝั่งผู้เล่นต่างชาติยังคงรอจังหวะเงินบาทแข็งค่าขึ้น ในการเพิ่มสถานะ Short THB (มองเงินบาทอ่อนค่า) นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบกว่า +2% ในคืนที่ผ่านมา ตามยอดสต็อกน้ำมันดิบและยอดสต็อกน้ำมันเบนซินสหรัฐฯ ที่ลดลงมากกว่าคาด ก็อาจมีโฟลว์ธุรกรรมที่เกี่ยวกับน้ำมันดิบเข้ามากดดันเงินบาทได้บ้าง 

บรรดาผู้เล่นในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ต่างระมัดระวังตัวมากขึ้น เพื่อรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิค PPI และยอดค้าปลีก (Retail Sales) ในคืนวันพฤหัสฯ (ตามเวลาประเทศไทย) ทำให้ผู้เล่นในตลาดขายทำกำไรหุ้นกลุ่มเทคฯ ธีม AI ที่ปรับตัวได้ดีในช่วงที่ผ่านมา อาทิ Nvidia -1.1% ทั้งนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังพอได้แรงหนุนจากการหุ้นกลุ่มพลังงาน นำโดย Exxon Mobil +1.1% ตามการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบ ส่งผลให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.19% 

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวขึ้นราว +0.16% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มค้าปลีกและกลุ่ม Utilities ที่รายงานยอดขายและคาดการณ์ผลประกอบการที่สดใส อาทิ Inditex (เจ้าของแบรนด์ Zara) +7.7% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานเช่นเดียวกับฝั่งสหรัฐฯ นำโดย Shell +1.2% อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรปก็เผชิญแรงกดดันจากการขายทำกำไรหุ้นเทคฯ ใหญ่เช่นกัน โดย ASML -1.5%

ในฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่ามุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยเฟดจะยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนไปมากนัก หลังรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในวันก่อนหน้า ทว่า การปรับตัวขึ้นต่อเนื่องราว +2% ของราคาน้ำมันดิบ ก็มีส่วนกดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทยอยปรับตัวขึ้น ใกล้ระดับ 4.20% อีกครั้ง  ทั้งนี้ เราคงมองว่า บอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ยังมีความเสี่ยงผันผวนสูงขึ้น หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงออกมาสดใสและดีกว่าคาด อย่างไรก็ดี Risk-Reward ของการเข้าซื้อบอนด์ระยะยาวก็ยังคุ้มค่าอยู่ ทำให้เราคงมองว่า นักลงทุนสามารถทยอยเพิ่มสถานะการลงทุนได้ หรือนักลงทุนอาจรอจังหวะ Buy on Dip ก็ได้เช่นกัน (อาจเน้นทยอยเข้าซื้อในโซน บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ เหนือระดับ 4.20%)

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงบ้าง โดยส่วนหนึ่งก็มาจากทยอยแข็งค่าขึ้นของเงินยูโร (EUR) ที่ได้อานิสงส์จากภาพตลาดหุ้นยุโรปที่ปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ก็ยังขาดปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน ทำให้ผู้เล่นในตลาดใช้จังหวะการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ในการลดสถานะ Long USD ลงบ้าง โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ย่อตัวลงใกล้ระดับ 102.8 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 102.7-103 จุด) ในส่วนของราคาทองคำ ภาพตลาดสหรัฐฯ ที่กลับมาอยู่ในภาวะระมัดระวังตัว กอปรกับการย่อตัวลงบ้างของเงินดอลลาร์ ได้หนุนให้ ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน เม.ย.) พลิกกลับมารีบาวด์ขึ้น สู่โซน 2,180 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อีกครั้ง เปิดโอกาสให้ผู้เล่นบางส่วนทยอยขายทำกำไรทองคำ และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าว ก็มีส่วนช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้าง
 
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญที่ห้ามพลาดจะอยู่ในฝั่งสหรัฐฯ โดยผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ อาทิ ยอดค้าปลีก (Retail Sales) ดัชนีราคาผู้ผลิต PPI และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) ที่จะประกาศในช่วง 19.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวก็อาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดได้อย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ตลาดการเงินอาจผันผวนพอสมควรในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลดังกล่าว

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า เงินบาทอาจแกว่งตัว sideways ในช่วงก่อนตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ โดยเราประเมินว่า เงินบาทอาจยังพอได้แรงหนุนจากโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำอยู่บ้าง รวมถึงการทยอยขายเงินดอลลาร์ของบรรดาผู้ส่งออก หากเงินบาทอ่อนค่าลงใกล้โซนแนวต้าน 35.80 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ต้องระวัง แรงกดดันฝั่งอ่อนค่า จากแรงขายสินทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะในฝั่งหุ้น ที่เรามองว่า นักลงทุนต่างชาติอาจรอจังหวะให้ตลาดหุ้นไทยรีบาวด์ใกล้โซนแนวต้าน ในการทยอยขายทำกำไรได้ ขณะเดียวกัน ผู้เล่นต่างชาติยังคงเดินหน้าเพิ่มสถานะ Short THB (มองเงินบาทอ่อนค่า) หลังเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา (ผู้เล่นต่างชาติส่วนใหญ่ต่างมองว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ไม่ดี และมีโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะลดดอกเบี้ยได้เร็วกว่าเฟด) 

อนึ่ง ควรระวังความผันผวนในช่วงตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เพราะหากยอดค้าปลีก และดัชนี PPI ออกมาดีกว่าคาด ก็อาจยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดกังวลต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดมากขึ้น ทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะกดดันทั้งราคาทองคำและเงินบาทได้พอสมควร โดยเราประเมินเบื้องต้นว่า เงินบาทอาจอ่อนค่าไปทดสอบโซน 35.80-35.90 บาทต่อดอลลาร์ได้ ในกรณีเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าดังกล่าว ในทางกลับกัน หากภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้มีอะไร “เซอร์ไพรส์” ตลาด เราคาดว่า เงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ยังไม่มากนัก เนื่องจากยังขาดปัจจัยสนับสนุนที่ชัดเจน ทำให้โซนแนวรับอาจยังอยู่ในช่วง 35.50 บาทต่อดอลลาร์ (แนวรับถัดไป 35.30 บาทต่อดอลลาร์)

เรายังขอเน้นย้ำว่า ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.60-35.75 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงก่อนทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ 

และประเมินกรอบ 35.50-35.85 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯมากขึ้น ทำให้เงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งจะกดดันทั้งราคาทองคำและเงินบาทได้พอสมควร โดยเราประเมินเบื้องต้นว่า เงินบาทอาจอ่อนค่าไปทดสอบโซน 35.80-35.90 บาทต่อดอลลาร์ได้ ในกรณีเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าดังกล่าว ในทางกลับกัน หากภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้มีอะไร “เซอร์ไพรส์” ตลาด เราคาดว่า เงินบาทก็อาจแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ยังไม่มากนัก เนื่องจากยังขาดปัจจัยสนับสนุนที่ชัดเจน ทำให้โซนแนวรับอาจยังอยู่ในช่วง 35.50 บาทต่อดอลลาร์ (แนวรับถัดไป 35.30 บาทต่อดอลลาร์)

เรายังขอเน้นย้ำว่า ในช่วงนี้ ความผันผวนของเงินบาทนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ผ่านมา (มองจากกรอบเงินบาทรายสัปดาห์) อย่างเห็นได้ชัด ทำให้เราคงคำแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และนอกเหนือจากการใช้เครื่องมือดังกล่าว การเลือกทำธุรกรรมในสกุลเงินท้องถิ่น (Local Currency) ก็เป็นอีกแนวทางในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่น่าสนใจ ซึ่งผู้ประกอบการควรเปรียบเทียบต้นทุนในการทำธุรกรรมและแผนการป้องกันความเสี่ยงก่อนตัดสินใจทุกครั้ง

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.60-35.75 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงก่อนทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ 

และประเมินกรอบ 35.50-35.85 บาท/ดอลลาร์ ในช่วงทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 14 มี.ค. 2567 เวลา : 10:35:23

02-05-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 2, 2024, 12:31 pm