เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
SCB FM มองเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อจากดัชนีเงินดอลลาร์อ่อนค่า แต่การเมืองไทย และภาษีนำเข้าของทรัมป์ อาจทำให้บาทอ่อนค่าในบางช่วง


กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Financial Markets: SCB FM) เปิดเผยว่า เงินบาทอ่อนค่าจากปัจจัยการเมืองในประเทศเป็นสำคัญ แต่แข็งค่าได้จากปัจจัยต่างประเทศที่ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าลง โดยล่าสุดที่ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ ทำให้บาทอ่อนค่า ลูกค้าส่งออกจึงอาจทยอยขายดอลลาร์ได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ SCB FM ยังมองว่ามีโอกาสสูงที่ไทยจะถูกสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสูงกว่า 20% จึงอาจทำให้บาทอ่อนค่าได้อีก อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่สหรัฐฯ ยังไม่ประกาศอัตราภาษีใหม่ที่จะเรียกเก็บจากไทย อาจเห็นบาทมี Correction กลับมาแข็งค่าได้ตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง หากเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ที่จะเผยแพร่ในปลายสัปดาห์นี้ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาด อาจทำให้บาทกลับมาแข็งค่า ซึ่งจะเป็นจังหวะให้ลูกค้าผู้นำเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐได้

 
นายแพททริก ปูเลีย รองผู้จัดการใหญ่ Head of Financial Markets Function และ Head of Private Banking Relationship Management ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า เงินบาทเดือนที่ผ่านมาผันผวนขึ้น โดยมีช่วงที่อ่อนค่าขึ้นแรงจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศ ทั้งเรื่องการปรับ ครม. และคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ดี บาทยังได้รับปัจจัยหนุนด้านแข็งค่า ทั้งจากอิหร่าน-อิสราเอลตกลงหยุดยิง และสหรัฐฯ-จีนทำข้อตกลงทางการค้าสำเร็จ นอกจากนี้ ล่าสุดตลาดมองว่า Fed มีโอกาสลดดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้งในปีนี้ ทำให้ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่อเนื่อง จนทำระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี ส่งผลให้ค่าเงินภูมิภาครวมถึงเงินบาทแข็งค่าขึ้น 

 
ช่วงที่การเมืองไทยมีประเด็นร้อนแรง (เช่น คลิปเสียงการสนทนาของนายกฯ กับสมเด็จฮุน เซน) เงินบาทอ่อนค่าเร็วกว่าสกุลอื่นในภูมิภาค ซึ่งสะท้อนได้ว่าความกังวลต่อสถานการณ์การเมืองไทยส่งผลต่อมุมมองของนักลงทุนโลกมาก และทำให้เงินไหลออกจากตลาดบอนด์ไทยมากกว่าปัจจัยต่างประเทศอีกด้วย เช่น ในช่วงที่สงครามอิหร่าน-อิสราเอลปะทุรุนแรง กลับพบว่าเงินทุนไหลออกและเงินบาทอ่อนค่าไม่มากเท่าช่วงที่มีข่าวการเมืองไทย

 
ในช่วง 1 เดือนข้างหน้า มองว่าประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมือง และแนวโน้มที่ทรัมป์จะประกาศขึ้นภาษีนำเข้าต่อไทย อาจทำให้เงินบาทอ่อนค่าขึ้นได้ มองกรอบที่ราว 32.50-33.00 โดยล่าสุดที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ ทำให้บาทอ่อนค่า ลูกค้าอาจทยอยขายเงินดอลลาร์สหรัฐได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมองว่ามีโอกาสสูงที่ไทยจะถูกสหรัฐฯ ขึ้นภาษีนำเข้าสูงกว่า 20% เพราะไทยยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องการสวมสิทธิ์สินค้าส่งออกของจีนได้ อีกทั้ง การที่ทรัมป์ขู่จะขึ้นภาษีจากญี่ปุ่นถึง 25% ก็สะท้อนว่าไทยมีโอกาสถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงเช่นกัน จึงอาจทำให้บาทอ่อนค่าได้อีก ทั้งนี้ แรงกดดันจากดอลลาร์อ่อนค่าอาจทำให้บาทไม่อ่อนค่ามากนัก จึงเป็นสาเหตุที่ให้กรอบ USDTHB ที่ไม่สูงนัก  ในระหว่างที่สหรัฐฯ ยังไม่ประกาศอัตราภาษีใหม่ที่จะเรียกเก็บจากไทย อาจเห็นบาทมี Correction กลับมาแข็งค่าได้ตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง หากเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ออกมาแย่ลง อาจทำให้ดอลลาร์อ่อนค่าต่อ กดดันบาทกลับมาแข็งค่า ซึ่งจะเป็นจังหวะให้ลูกค้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐได้

 
สำหรับในระยะกลางถึงยาวมองว่า บาทอาจแข็งค่าต่อได้ เพราะวัฏจักรเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บาทแข็งค่าในปีนี้ โดยเงินทุนมีแนวโน้มไหลเข้ายุโรปและเอเชีย เพราะนักลงทุนมองว่าธนาคารกลางเอเชียมีแนวโน้มลดดอกเบี้ยต่อ และการที่เงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่าจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในสกุลเงินท้องถิ่นสูงขึ้น นอกจากนี้ เงินยูโรก็มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องตามมุมมองของนักลงทุนโลกต่อมาตรการด้านการคลังในยุโรป และแนวโน้มวัฏจักรการลดดอกเบี้ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ใกล้จบลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลยุโรปจะไม่ลดลงมาก จึงหนุนเงินยูโรได้ ดังนั้น ดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐจึงมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อได้ ทำให้เทรนด์การแข็งค่าของเงินบาทจะยังดำเนินต่อในปีนี้ โดยมองกรอบเงินบาท ณ ปลายปีที่ราว 31.50-32.50

 
นายวชิรวัฒน์ บานชื่น นักกลยุทธ์ตลาดการเงินอาวุโส ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตลาดมอง กนง. มีแนวโน้มลดดอกเบี้ยนโยบายต่ออีก 2 ครั้งในปีนี้ โดยตลาดมีมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่แย่ลงหลังมีประเด็นทางการเมืองในประเทศ โดยล่าสุดมองว่า กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยในไตรมาส 3 ลงไปที่ 1.50% และลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งไปที่ 1.25% ช่วงปลายปีนี้ สำหรับมุมมองอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย มองว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี มีแนวโน้มลดลงต่อได้ตามการลดดอกเบี้ยของ กนง. ส่วนผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวมีแนวโน้มลดลงน้อยกว่า จาก Premium ที่มาจาก Global yields ที่อยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ความเสี่ยงต่อแนวโน้มเงินเฟ้อโลกได้ปรับลดลง หลังสงครามอิสราเอล-อิหร่านจบเร็ว ทำให้ราคาน้ำมันดิบกลับมาลดลงตามปัจจัยด้านอุปทาน ดังนั้น ความเสี่ยงด้านสูงต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยจึงลดลงด้วย
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 02 ก.ค. 2568 เวลา : 11:36:39
04-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ประกาศ กปน.: 19 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี

2. ตลาดหุ้นปิด (3 ก.ค.68) บวก 11.52 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,127.21 จุด

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (3 ก.ค.68) บวก 3.67 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,119.36 จุด

4. พยากรณ์อากาศวันนี้ (3 ก.ค.68) ภาคตะวันออก ฝนตกหนัก 80% กรุงเทพปริมณฑล และภาคอื่น 70% เว้นภาคใต้ 60%

5. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (2 ก.ค.68) ลบ 10.52 จุด กังวลจ้างงานภาคเอกชนลดลง

6. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (2 ก.ค.68) บวก 9.90 เหรียญ จ้างงานชะลอตัวหนุนเฟดลดดอกเบี้ย

7. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับอยู่ที่ระดับ 3,315 เหรียญ และมีแนวต้านสำคัญอยู่ที่ระดับ 3,370 เหรียญ

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.25-32.50บาท/ดอลลาร์

9. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (3 ก.ค.68) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 32.35 บาทต่อดอลลาร์

10. ทองเปิดตลาดวันนี้ (3 ก.ค. 68) ปรับลดลง 50 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 52,050 บาท

11. ตลาดหุ้นเปิดวันนี้ (3 ก.ค.68) ลบ 0.39 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,115.30 จุด

12. ตลาดหุ้นปิด (2 ก.ค.68) บวก 5.68 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,115.69 จุด

13. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (2 ก.ค.68) ลบ 4.59 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,105.42 จุด

14. MTS Gold คาดราคาทองไทยจะมีแนวรับระยะสั้นที่ 50,800 บาท/บาททองคำ และมีแนวต้านระยะสั้นที่ 51,400 บาท/บาททองคำ

15. พยากรณ์อากาศวันนี้ (2 ก.ค.68) ฝนตกหนักในภาคอีสาน-ภาคตะวันออก 80% กรุงเทพปริมณฑล-ภาคเหนือ-ภาคกลาง 70% ภาคใต้ 60%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 4, 2025, 5:22 am