เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปภาวะตลาดเงินตลาดทุนรายสัปดาห์ "เงินบาทกลับมาแข็งค่าปลายสัปดาห์ ขณะที่ดัชนีหุ้นไทยปิดเหนือ 1,200 จุดได้ช่วงท้ายสัปดาห์"


 สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท


· เงินบาทแกว่งตัวเป็นกรอบ แต่พลิกแข็งค่ากลับมาอีกครั้งช่วงปลายสัปดาห์

เงินบาทแข็งค่าขึ้นช่วงสั้นๆ ต้นสัปดาห์ ก่อนจะพลิกอ่อนค่าลงในเวลาต่อมา สวนทางเงินดอลลาร์ฯ ที่ขยับแข็งค่าขึ้น หลังจากที่ตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ เดือนมิ.ย. ออกมาสูงกว่าที่คาด [CPI Inflation +2.7% YoY ในเดือนมิ.ย. สูงกว่าตลาดคาดที่ +2.6% YoY และสูงกว่า +2.4% YoY ในเดือนพ.ค.] ซึ่งทำให้ตลาดประเมินว่า เฟดอาจต้องระมัดระวังมากขึ้นในการประเมินจังหวะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะถัด ๆ ไป นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ฯ ยังมีแรงประคองต่อเนื่อง หลังจากปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ ออกมากล่าวปฏิเสธข่าวการเตรียมพิจารณาปลดนายเจอโรม พาวเวล ออกจากตำแหน่งประธานเฟด

อย่างไรก็ดี เงินบาทกลับมาพลิกแข็งค่าผ่านแนว 32.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงท้ายสัปดาห์ตามการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลกและการแข็งค่าของเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่น ๆ ขณะที่แรงหนุนเงินดอลลาร์ฯ ชะลอลง หลังตอบรับปัจจัยบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาด อาทิ ยอดค้าปลีกและตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ไปมากแล้ว
 
 


· ในวันศุกร์ที่ 18 ก.ค. 2568 เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ 32.39 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับ 32.51 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (11 ก.ค.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 14-18 ก.ค. 2568 นั้น นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 4,595 ล้านบาท แต่ยังคงขายสุทธิพันธบัตรไทยต่อเนื่องอยู่เล็กน้อยที่ 625.7 ล้านบาท

· สัปดาห์ระหว่างวันที่ 21-25 ก.ค. 2568 ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 32.30-32.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ประเด็นเกี่ยวกับการเจรจาการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้า (รวมถึงไทย) การเสนอชื่อผู้ว่าการธปท. คนถัดไปต่อ ครม. ตัวเลขการส่งออกเดือนมิ.ย. ของไทย ฟันด์โฟลว์ของต่างชาติ และทิศทางราคาทองคำในตลาดโลก ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่ และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมิ.ย. ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือนก.ค. และตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามท่าทีต่อทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ ของประธานเฟดและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟด การประกาศดอกเบี้ย LPR ของจีน ผลการประชุม ECB และข้อมูล PMI (เบื้องต้น) สำหรับเดือนก.ค. ของอังกฤษ ยูโรโซนและญี่ปุ่น

สรุปความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย

· ดัชนีหุ้นไทยดีดตัวขึ้นจากสัปดาห์ก่อนท่ามกลางความหวังต่อผลการเจรจาการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ

ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยดีดตัวขึ้นกว่า 80 จุดภายในสัปดาห์เดียว ท่ามกลางแรงหนุนหลัก ๆ จากความหวังว่าไทยจะบรรลุข้อตกลงการค้ากับสหรัฐฯ หลังจากทีมเจรจาไทยได้พยายามปรับข้อเสนอโดยการเปิดการค้าให้สหรัฐฯ มากขึ้น ซึ่งทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าไทยน่าจะรับการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าใหม่ในอัตราที่ใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านที่บรรลุข้อตกลงกับสหรัฐฯ ไปแล้วก่อนหน้านี้

 
 
ปัจจัยบวกข้างต้นกระตุ้นแรงซื้อหุ้นไทยทุกกลุ่ม โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่กลุ่มแบงก์บวกได้เพียงเล็กน้อย เนื่องจากนักลงทุนประเมินว่าผลประกอบไตรมาส 2/2568 ที่กำลังทยอยประกาศออกมานั้นอาจจะไม่ได้เติบโตมากนัก ประกอบกับมีความกังวลว่าจะเห็นการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมจากกระแสข่าวเกี่ยวกับการเสนอชื่อผู้ว่าการธปท. คนใหม่ อนึ่ง ดัชนีหุ้นไทยดีดตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงท้ายสัปดาห์ โดยขึ้นไปแตะจุดสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือนที่ 1,210.01 จุด ตามแรงซื้อของกลุ่มต่างชาติ อย่างไรก็ดี นักลงทุนยังคงติดตามประเด็นการเจรจาการค้าไทย-สหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด

· ในวันศุกร์ที่ 18 ก.ค. 2568 ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,206.58 จุด เพิ่มขึ้น 7.62% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 48,357.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60.50% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 6.02% มาปิดที่ระดับ 250.65 จุด

· สัปดาห์ถัดไป (21-15 ก.ค. 68) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,160 และ 1,125 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,230 และ 1,255 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขส่งออกเดือนมิ.ย. ของไทย ผลประกอบการไตรมาส 2/2568 ของบจ.ไทย โดยเฉพาะกลุ่มแบงก์ ประเด็นเกี่ยวกับมาตรการภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด รวมถึงทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่ และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนมิ.ย. ดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการเดือนก.ค. (เบื้องต้น) รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่ การประชุม ECB ตลอดจนดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการเดือนก.ค. (เบื้องต้น) ของญี่ปุ่น ยูโรโซนและอังกฤษ

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 18 ก.ค. 2568 เวลา : 21:10:10
19-07-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (18 ก.ค.68) บวก 8.47 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,206.58 จุด

2. ประกาศ กปน.: 24 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนราชพฤกษ์ และถนนบรมราชชนนี

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (18 ก.ค. 68) บวก 7.06 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,205.17 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีกรอบแนวรับที่ระดับ 3,320 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,350 เหรียญ

5. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (17 ก.ค.68) ร่วง 13.80 เหรียญ เหตุดอลลาร์แข็งค่า-ข้อมูลเศรษฐกิจแกร่ง

6. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (17 ก.ค.68) บวก 229.71 จุด นักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจ-ผลประกอบการแกร่ง

7. พยากรณ์อากาศวันนี้ (18 ก.ค.68) กรุงเทพปริมณฑล ฝนตกหนัก 70% ภาคเหนือ-ภาคกลาง-ภาคตะวันออก 60% ภาคอีสาน 40% ภาคใต้ 30-40%

8. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (18 ก.ค.68) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ที่ระดับ 32.44 บาทต่อดอลลาร์

9. ตลาดหุ้นไทยเปิดวันนี้ (18 ก.ค.68) บวก 0.77 จุดทดัชนีอยู่ที่ 1,198.88 จุด

10. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.35-32.55บาท/ดอลลาร์

11. ทองเปิดตลาดวันนี้ (18 ก.ค. 68) "คงที่" ทองรูปพรรณ ขายออก 52,050 บาท

12. ประกาศ กปน.: 23 ก.ค. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

13. ตลาดหุ้นปิด (17 ก.ค.68) บวก 40.48 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,198.11 จุด

14. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (17 ก.ค.68) บวก 33.38 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,191.01 จุด

15. MTS Gold คาดราคาทองคำยังคงเคลื่อนตัวอยู่ในกรอบแคบ Sideways มีแนวรับสำคัญอยู่ที่ระดับ 3,320 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,355 เหรียญ

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ July 19, 2025, 5:50 pm