|
|
|
|
|

|
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสส่งมอบ ก.ย. เพิ่มขึ้น 2.86 เหรียญฯ ปิดที่ 107.89 เหรียญฯ ส่วนเบรนท์ส่งมอบ ก.ย. เพิ่มขึ้น 1.84 เหรียญฯ ปิดที่ 109.54 เหรียญฯ
+ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 2% เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจภาคการผลิตอุตสาหกรรมสหรัฐฯ จีน และยูโรโซนออกมาดีกว่าคาด ประกอบกับความรุนแรงในตะวันออกกลางยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผลการประชุมเฟดล่าสุด รายว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเป็นพิเศษต่อไป และจะยังคงเดินหน้าโครงการซื้อสินทรัพย์ในวงเงินปัจจุบันที่ 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานต่อไป
+ จำนวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ปรับตัวลง 19,000 ราย มาอยู่ที่ 326,000 ราย ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปีครึ่ง และสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 345,000 ราย
+ ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐฯ (PMI) เดือน ก.ค. ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 53.7 จาก 51.9 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 4 เดือน
+ ดัชนีภาคการผลิตของจีน( PMI) เดือน ก.ค. พิ่มขึ้นเป็น 50.3 จาก 50.1 ในเดือนก่อนหน้า สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลงเป็น 49.9 เนื่องจากมียอดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น
+ ดัชนีภาคการผลิตของยูโรโซน (PMI) เดือน ก.ค. ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 50.3 จาก 48.8 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ 2 ปี
+ ความรุนแรงในตะวันออกกลางยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง โดยตัวเลขล่าสุดในเดือน ก.ค. ปริมาณการผลิตน้ำมันกิบจากลิเบียลดลงจาก 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ แม้ว่าปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังในสิงคโปร์จะปรับเพิ่มขึ้น
ราคาน้ำมันมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานยังคงตึงตัว จากโรงกลั่นในไต้หวันที่ยังคงประสบปัญหาการดำเนินการผลิต นอกจากนี้ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังในสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
ทิศทางราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นและปัจจัยที่น่าจับตามอง
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหวในกรอบเดิม โดยเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 104 - 110 เหรียญฯ ส่วนเวสต์เท็กซัสที่กรอบ 103-109 เหรียญฯ คืนนี้ติดตามรายได้-รายจ่ายส่วนบุคคล ยอดสั่งซื้อโรงงาน การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานสหรัฐฯ รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิตยูโรโซน
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่
วันจันทร์: ดัชนีบริการภาคจีน สหรัฐฯ ยุโรปและสหราชอาณาจักร
วันอังคาร: ยอดคำสั่งซื้อของโรงงานเยอรมัน การผลิตภาคอุตสาหกรรสหราชอาณาจักร และดุลการค้าสหรัฐฯ
วันพุธ: การผลิตภาคอุตสาหกรรสหราชอาณาจักร
วันพฤหัส: ยอดผู้ขอรับสิทธิประโยชน์จากการว่างงานสหรัฐฯ ดุลการค้าเยอรมนี
วันศุกร์: ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ดุลการค้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
- ความไม่สงบในประเทศแถบตะวันออกกลาง โดยล่าสุดกลุ่มผู้ประท้วงในลิเบียได้เข้าปิดท่าขนส่งน้ำมัน ทำให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบลดลงจาก 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 330,000 บาร์เรลต่อวัน รวมไปถึงเหตุการณ์ความรุนแรงในอิรักที่ทวีความรุนแรงต่อเนื่อง สร้างความกังวลต่อปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของประเทศ
- ซูดานตัดสินใจเลื่อนเส้นตายการปิดท่อขนส่งน้ำมันที่จะขนส่งน้ำมันของซูดานใต้ไปอีก 2 สัปดาห์ เพื่อให้สหภาพแอฟริกาเข้าตรวจสอบข้อกล่าวหาที่ว่า ซูดานใต้ให้การสนับสนุนกลุ่มกบฏในซูดาน
- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ โดยสัปดาห์ล่าสุดปรับเพิ่มขึ้น 4 แสนบาร์เรล หลังจาก 4 สัปดาห์ก่อนหน้าปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมไปถึงปริมาณน้ำมันดิบคงคลังบริเวณคุชชิ่ง โอคลาโฮมา หลังจากสัปดาห์ล่าสุดปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 2555
- รายงานประจำเดือนสิงหาคมที่ประกาศโดย IEA, EIA และ OPEC ถึงแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันดิบในอนาคต
|
บันทึกโดย : Adminวันที่ :
02 ส.ค. 2556 เวลา : 11:04:56
|
|
|
|
|
ข่าวเด่น