เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
สคฝ. เผยสถิติ ณ สิ้นปี 67 คนไทยมีเงินฝาก 16.32 ล้านล้านบาท เปิดแผนคุ้มครองเงินฝากผ่านแนวคิด 'READY & Prompt' หนุนระบบปัญญาประดิษฐ์ เสริมความพร้อม คุ้มครองผู้ฝาก มุ่งรับเทรนด์การเงินดิจิทัล


 
สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) หรือ DPA เผยรายงานสถิติเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง ณ สิ้นปี 2567 รวมกว่า 99.25 ล้านราย คิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 4.75 หรือ 4.50 ล้านรายและจำนวนเงินฝากรวม 16.32 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโตร้อยละ 1.40 หรือ 0.22 ล้านล้านบาท พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนภารกิจคุ้มครองเงินฝากภายใต้แผนยุทธศาสตร์ระยะที่ 4 (2566–2570) ผ่านแนวคิด READY & Prompt ที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเงิน ในยุคดิจิทัล รวมถึงให้ความสำคัญกับผู้ฝากเป็นศูนย์กลาง (Depositor-Centric) ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการคุ้มครองเงินฝากและการบริหารจัดการองค์กร นอกจากนี้ยังเตรียมความพร้อมรองรับการจัดตั้งธนาคารไร้สาขา (Virtual Bank) และเดินหน้าพัฒนาระบบงานที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการวางยุทธศาสตร์และเป้าหมายองค์กรที่ชัดเจนในระยะยาว เพื่อมอบความมั่นใจในทุกความไม่แน่นอนให้กับผู้ฝากและประชาชนได้อย่างยั่งยืน

 
ดร.มหัทธนะ อัมพรพิสิฏฐ์ ผู้อำนวยการ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก กล่าวว่า “จากรายงานสถิติเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองปี 2567 พบว่าอัตราการเติบโตของเงินฝากในกลุ่มผู้ฝากที่เงินฝากน้อยกว่า 50,000 บาท มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสูงที่สุดถึงร้อยละ 4.84 ทั้งนี้ปัจจัยการเพิ่มขึ้นของเงินฝากในผู้ฝากกลุ่มนี้มีผลมาจากโครงการเงินช่วยเหลือภาครัฐ ทำให้อัตราเงินฝากในเดือนกันยายน 2567 พุ่งขึ้นถึงร้อยละ 6.83 สูงกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปีในช่วงเดือนเดียวกัน ที่ร้อยละ 2.50 ในขณะที่ผู้ฝากกลุ่มที่มีเงินฝากมากกว่า 100 ล้านบาท มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นรองลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.70 ซึ่งคาดว่าเป็นการเพิ่มขึ้นในบัญชีประเภทเงินฝากประจำ เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงการนำเงินมาพักเพื่อรอความชัดเจนของสภาพเศรษฐกิจ จึงส่งผลให้อัตราการเติบโตของเงินฝากกลุ่มนี้ยังคงเป็นบวกเมื่อเทียบกับปี 2566 สำหรับแนวโน้มการเติบโตของเงินฝากในปี 2568 นี้คาดว่าจะอยู่ระหว่างร้อยละ 1 – 3 สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นอย่างช้าๆ เนื่องจากยังมีปัจจัยกระทบที่ไม่แน่นอนจากทั้งภายในและนอกประเทศ” 

 
ปัจจุบันผู้ฝากที่ได้รับความคุ้มครองเต็มจำนวน ภายใต้วงเงินคุ้มครองไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 รายผู้ฝากต่อ 1 สถาบันการเงินอยู่ที่ 97.46 ล้านราย คิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 98.20 ของผู้ฝากที่ได้รับความคุ้มครองทั้งระบบ สะท้อนอันดับความสามารถในการคุ้มครองผู้ฝากส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 2 ในเอเชียและอันดับที่ 31 ของโลก และเพื่อให้ DPA มีความพร้อมในการเป็นองค์กรคุ้มครองเงินฝากที่น่าเชื่อถือและทันสมัย สร้างความมั่นใจให้ผู้ฝากและประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ DPA จึงได้ปรับกลยุทธ์การดำเนินงานภายใต้แนวคิด "READY & Prompt" มุ่งสู่ยุทธศาสตร์ระยะที่ 4 (ปี 2566 – 2570) “DPA พร้อม” โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพองค์กร ทั้งในด้านการจ่ายเงินคุ้มครอง และการชำระบัญชีและบริหารสินทรัพย์ เพื่อให้ผู้ฝากเงินได้รับการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี DPA ตั้งเป้าการจ่ายเงินคุ้มครองให้กับผู้ฝากส่วนใหญ่ภายใน 7 วันทำการสำหรับผู้ฝากที่ผูกบัญชี Prompt Pay กับหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน โดยจากผลศึกษาและเก็บข้อมูลสถิติในช่วง 10 ปี ตั้งแต่ปี 2557 – 2566 ของสมาคมสถาบันประกันเงินฝากระหว่างประเทศพบว่าค่าเฉลี่ยของจำนวนวันในการจ่ายเงินคุ้มครองให้กับผู้ฝากสามารถทำได้เร็วขึ้นจาก 28 วันเหลือเพียง 14 วัน และพบว่ามีเหตุการณ์สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตรวม 13 สถาบันการเงิน ที่สถาบันประกันเงินฝากในต่างประเทศดำเนินการจ่ายเงินคุ้มครองให้กับผู้ฝากส่วนใหญ่ได้ภายใน 7 วันทำการ ทั้งนี้คำว่าผู้ฝากส่วนใหญ่นั้นจะต้องครอบคลุมผู้ฝากไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75  
 

 
ด้วยเหตุนี้ภารกิจของการเตรียมความพร้อมด้านการคุ้มครองเงินฝากของไทยจึงยิ่งมีความสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าหากเกิดเหตุการณ์ไม่แน่นอนใดๆ ขึ้นจนส่งผลกระทบถึงขั้นสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต DPA จะสามารถปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และทันต่อความคาดหวังของผู้ฝากและประชาชน DPA จึงได้กำหนดแนวทางกลยุทธ์ภายใต้แนวคิด "READY & Prompt" ผ่าน 5 แนวทางหลัก 

R = Reimagine Confidence: สร้างความตระหนักรู้ให้ผู้ฝากและประชาชนตื่นตัวในการหาข้อมูลความรู้ทางการเงินและการคุ้มครองเงินฝากผ่านเนื้อหาในสื่อออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเป็นเกราะป้องกันในการรับมือกับสภาวะความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงภัยใกล้ตัวจากมิจฉาชีพที่แอบอ้างชื่อสถาบันคุ้มครองเงินฝากในการหลอกลวงประชาชน 

E = Engagement: ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการรับรู้ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง ผู้ฝาก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน 

A = Agility: ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม DPA Platform เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความยืดหยุ่นและรวดเร็วรองรับความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเงิน และตอบสนองต่อความท้าทายใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบปฏิบัติการต่างๆ ด้วยนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ที่จะเข้ามาเป็นผู้ช่วยในการทำงาน เพิ่มความคล่องตัว ลดภาระงานเอกสารและขั้นตอนการทำงาน ควบคู่ไปกับการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้พนักงานมีความพร้อมในการปรับตัวและปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน 

D = Digitalization and Data Analytic: มุ่งขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล (Data-Driven) โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ฝากเพื่อให้เข้าใจแนวโน้มและพฤติกรรมของผู้ฝาก ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการกำหนดกรอบนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานพันธกิจหลักของ DPA และการวางกลยุทธ์แผนปฏิบัติการจ่ายเงินคุ้มครองและการชำระบัญชี รวมถึงการวางกลยุทธ์ด้านการสื่อสารที่ตรงกับความหลากหลายของผู้ฝากและประชาชนมากยิ่งขึ้น

Y = Year-round Trust: มุ่งเป็นองค์กรที่ประชาชนเชื่อมั่นและไว้วางใจ ด้วยระบบคุ้มครองเงินฝากที่มีเสถียรภาพ สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงและคุ้มครองผู้ฝากได้ตลอดเวลา

 
นอกจากแนวทางการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ดังกล่าว DPA ยังมีการซักซ้อม (Simulation) ด้านการจ่ายเงินคุ้มครองและการชำระบัญชี บนพื้นฐานข้อมูลเสมือนจริงของสถาบันการเงิน เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นประจำทุกปี รวมถึงการบริหารเงินกองทุนคุ้มครองเงินฝากให้มีการเติบโต มั่นคง และปลอดภัย ซึ่งมีเป้าหมายรายได้ปี 2568 อยู่ที่ร้อยละ 2.20 ปัจจุบันมูลค่าเงินกองทุนฯ อยู่ที่ 146,466.49 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ก.พ. 68) การดำเนินงานเตรียมความพร้อมในทุกด้านของ DPA สะท้อนจุดยืนและเป้าหมายที่สำคัญ เพื่อให้สามารถมอบความมั่นใจในทุกความไม่แน่นอนให้กับผู้ฝากและประชาชนได้อย่างแท้จริง

 
ผู้ฝากและประชาชนที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝากได้ที่ เว็บไซต์ www.dpa.or.th หรือช่องทางโซเชียลมีเดียได้ทาง Facebook, YouTube, Twitter, Line, LinkedIn เพียงกดค้นหา dpathailand หรือโทรสอบถามได้ที่ศูนย์ข้อมูลคุ้มครองเงินฝาก (DPA Contact Center) 1158 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 26 มี.ค. 2568 เวลา : 18:48:30
24-04-2025
เบรกกิ้งนิวส์
1. ตลาดหุ้นปิด (23 เม.ย.68) บวก 9.72 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,153.77 จุด

2. ประกาศ กปน.: 28 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก)

3. ตลาดหุ้นปิดภาคเช้า (23 เม.ย.68) บวก 12.76 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,156.81 จุด

4. MTS Gold คาดว่าราคาทองคำจะมีแนวรับที่ระดับ 3,320 เหรียญ และแนวต้านที่ระดับ 3,420 เหรียญ

5. ทองนิวยอร์กปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.68) ร่วง 5.9 เหรียญ นักลงทุนชะลอซื้อทองคำ หลังการค้าสหรัฐ-จีน ส่งสัญญาณคลี่คลาย

6. ดัชนีดาวโจนส์ปิดเมื่อคืน (22 เม.ย.68) พุ่ง 1,016.57 จุด นักลงทุนคลายกังวลสงครามการค้าคลี่คลาย

7. ประเทศไทยอากาศร้อน และร้อนจัดในภาคเหนือและภาคกลาง โดยมีฝนฟ้าคะนองในภาคใต้ 40% ภาคตะวันออก 20% กรุงเทพปริมณฑล และภาคอื่นๆ 10%

8. ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 33.40-33.65 บาท/ดอลลาร์

9. ทองเปิดตลาดวันนี้ (23 เม.ย.68) ลดลง 850 บาท ทองรูปพรรณ ขายออก 54,400 บาท

10. ตลาดหุ้นไทยเปิด (23 เม.ย. 68) บวก 9.48 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,153.71 จุด

11. ค่าเงินบาทเปิดวันนี้ (23 เม.ย.68) อ่อนค่าลงหนัก ที่ระดับ 33.63 บาทต่อดอลลาร์

12. ตลาดหุ้นไทยปิด (22 เม.ย.68) บวก 9.34 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,144.05 จุด

13. ประกาศ กปน.: 28 เม.ย. 68 น้ำไหลอ่อนไม่ไหล ถนนประชาธิปก

14. ตลาดหุ้นไทยปิดภาคเช้า (22 เม.ย.68) ลบ 0.06 จุด ดัชนีอยู่ที่ 1,134.65 จุด

15. ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง โดยมีฝนฟ้าคะนอง 10-20%

อ่านข่าว เบรกกิ้งนิวส์ ทั้งหมด
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ April 24, 2025, 9:53 am